ฝากความหวังกับ Digital Economy (2)

จากบทความที่แล้ว ที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Digital Economy ที่เป็นครั้งแรกในกว่าทศวรรษของการกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT อย่างบูรณาการในระดับชาติ บทความนี้จะขอกล่าวถึงความสำคัญของ Soft Infrastructure เพราะสำหรับผู้อ่านหลายท่าน เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่า Hard Infrastructure อย่างหลายเท่าตัว และมีผลต่อความสามารถในการขับเคลื่อนและความสามารถทางการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

เมื่อกล่าวถึง Hard Infrastructures ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ย่อมต้องหมายถึงระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ไฟเบอร์ออปติกซ์ เสาอากาศ คลื่นความถี่ Data Center ฯลฯ ทั้งหมดนี้มีหน้าที่ในการเก็บรักษาและนำส่งข้อมูลดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ตัวหนังสือ ฯลฯ ซึ่งเป็นการลงทุนใน Hardware ที่มีมูลค่ามหาศาล ลักษณะจำเพาะของ Hard Infrastructures คือเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงช้ากว่า ไม่มีความสลับซับซ้อน และไม่สามารถให้บริการข้ามพรมแดนได้ ยกตัวอย่างเช่น ระบบโทรคมนาคมของประเทศไทย ต้องให้บริการจากประเทศไทยเท่านั้น เพราะจำเป็นต้องมีตัวตนทางกายภาพอย่างเช่นไฟเบอร์ออปติกซ์ที่สามารถเข้าถึงท้องที่นั้นๆ

Read More

IPv6: ไม่ต้องกลัว IP Address จะหมดโลก

IPv6 เป็นการแก้ปัญหาของ IP Address ที่กำลังจะหมดโลก วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 เป็นวันสำคัญของโลกนวัตกรรมอีกวันหนึ่ง เพราะจะมีการทดลองใช้ IPv6 พร้อมกันทั่วโลก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทใหญ่ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพ ซึ่งรวมถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยด้วย

IP Address เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์สำหรับทุกอุปกรณ์ที่ใช้งานได้บน Internet ปัจจุบันเป็นช่วงส่งต่อระหว่าง IPv4 มาเป็น IPv6 โดยที่ IPv4 ได้มีใช้งานมาตั้งแต่ 1980 ปัญหาที่สำคัญของ IPv4 คือหมายเลข IP Address ที่กำลังจะหมด เพราะเมื่อถูกออกแบบ มิได้คาดคำนึงถึงจำนวนอุปกรณ์ที่จะมีใช้ในยุคปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ มีแต่คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ราคาแพง ที่จะสามารถเข้าถึง Internet ได้ แต่ในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ Smartphones และอีกมากมายหลายประเภทของอุปกรณ์ สามารถเข้าถึง Internet ได้ทั้งหมด

Read More

ฟ้าหลังฝน ผ่าวิกฤตโทรคมนาคมไทย

ลุ้นกันสุดระทึก สองกรณีแห่งการฟ้องร้องศาลปกครอง ในวาระที่กระชั้นชิด และสืบเนื่องจากประเด็นที่ต้องส่งผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรณี 1: การฟ้องเพื่อระงับสัญญาระหว่าง กสท และ ทรู ในการให้บริการระบบ 3G ทั่วประเทศ

กรณี 2: การฟ้องเพื่อระงับการส่งชื่อผู้ถูกสรรหาเป็น กสทช

ทั้งสองกรณี มีทั้งประเด็นที่ศาลรับฟ้องและไม่รับ แต่ถึงกระนั้น อาจเป็นเคราะห์ดีของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่ศาลปกครองไม่สั่งคุ้มครองทั้งสองกรณี เพราะคนไทยทั้งประเทศจะมีโอกาศได้ใช้ 3G และลูกค้าปัจจุบันของ กสท กว่าล้านคน ก็จะไม่ได้รับผลกระทบ และยังสามารถใช้บริการโทรศัพท์ต่อไปได้ นอกไปจากนี้ กระบวนการจัดตั้ง กสทช ยังสามารถเดินหน้าต่อ และ กสทช มีโอกาศที่จะจัดสรร 3G เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างแท้จริง หลังจากที่ต้องล้มเหลวมาหลายครั้งหลายหน จนเป็นข่าวอึกทึกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

Read More

พรบ คอม หลงยุค Social Media

ปัจจุบันเป็นยุค Web 2.0 เว็บไซต์ในรูปแบบของ Social Networks หรือ Social Media เช่น Facebook, Twitter, Youtube ฯลฯ มีการเข้าถึงสูงสุด วิถีของการใช้งาน Internet ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้ใช้งานเป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารในคนเดียวกัน ผู้ดูแลและให้บริการระบบมิใช่ผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารอีกต่อไป การที่ผู้ดูแลและให้บริการระบบจะต้องร่วมรับผิดชอบกับผู้ใช้ที่กระทำผิดไม่ต่างกับ ผู้ให้บริการทางด่วนที่ต้องร่วมรับผิดชอบกับอุบัติเหตุทุกครั้ง หรือผู้ให้บริการไปรษณีย์ที่ต้องร่วมรับผิดชอบกับจดหมายหรือพัสดุทุกชิ้น โดยมิได้มีเจตนาร่วมกับการกระทำผิด

Facebook มีผู้ใช้เกือบ 700 ล้านคนทั่วโลก และ 9 ล้านคนในประเทศไทย ข้อมูลข่าวสารทั้งหมด คือข้อความ ภาพ เสียง และวีดีโอ ที่ผู้ใช้งานแลกเปลี่ยนและส่งต่อซึ่งกันและกัน พนักงานเพียง 2,000 คน ย่อมไม่สามารถดูแลตรวจทานทุกข้อมูลข่าวสาร ที่อาจมีไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้าน ข้อความ ภาพ เสียง และวีดีโอ ต่อวัน

Read More

3G และ WiFi ไม่ใช่บริการทดแทน

ปีนี้เป็นปีที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่จะมีผลสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ มีทั้งการเริ่มให้บริการ 3G อย่างทั่วประเทศ และการเริ่มให้บริการ 100 Mbps Ultra Hi-Speed Internet ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะมีโอกาสก้าวทันประเทศเพื่อนบ้าน และนานาอารยะประเทศ ทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารโทรคมนาคม แต่ถึงกระนั้น การชิงพื้นที่ให้บริการ WiFi ถึงจะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ก็เป็นคลื่นใต้น้ำที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ WiFi แม้จะเป็นเทคโนโลยีไร้สาย เช่นเดียวกับ 3G แต่สามารถให้ความเร็วที่สูงกว่า WiFi ที่มีให้บริการอยู่ในประเทศไทย ให้ความเร็วได้ถึง 8 Mbps ในขณะที่ 3G โดย HSPA (3.5G) ให้ความเร็วได้ถึง 7.2 Mbps แต่การใช้งานจริงอาจมีความแตกต่าง และ 3G มีความคงที่ ที่ไม่เท่าเทียมกับ WiFi ข้อดีของ 3G คือการครอบคลุมที่กว้างไกลและทั่วถึงกว่า ส่วนข้อดีของ WiFi คือความเร็วที่สูงและคงที่กว่า

Read More

Set-Top Box นวัตกรรมเพื่อต่อยอด 100 Mbps Ultra Hi-Speed Internet

สมมุติว่า Ultra Hi-Speed Internet เข้าถึงทุกครัวเรือน จะเพียงพอหรือไม่ สำหรับการใช้งาน 100 Mbps อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน น้อยกว่า 20% ของครัวเรือนในประเทศ สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังเป็นอุปกรณ์หลักของการเข้าถึง Internet ยิ่งไปกว่านั้น คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ยังขาดสมรรถภาพ ที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากความเร็ว Internet ที่สูงขึ้น

Set-Top Box หรืออุปกรณ์ทดแทนคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ Internet กับโทรทัศน์ เป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่า Smartphones หรือ Tablet PCs ในยุคต่อไปของการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลบน Internet ข้อได้เปรียบของ Set-Top Box คือราคาที่ต่ำกว่า และการเข้าถึงเกือบทุกครัวเรือนของโทรทัศน์ นอกไปจากนี้Set-Top Box มักถูกออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย และไม่ซับซ้อนเหมือนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วๆไป

Read More

HD Video Streaming ยุคใหม่ของ Killer App บน 100 Mbps

Killer Application เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ในทุกครั้งที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี จาก Narrowband มาเป็น Broadband และมาเป็น Ultra Hi-Speed Broadband ที่ 100 Mbps ซึ่งเริ่มให้บริการในประเทศไทย Internet เป็นบริการการเชื่อมต่อ (ท่อ) สิ่งที่บริโภคจริงๆ กลับเป็น Application (ที่อยู่ในท่อ) ความคุ้มค่าของการยกระดับด้วยความเร็วที่สูงขึ้น กลับเป็นการเข้าถึง Application ที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ทั้งนี้ Killer Application คือ Application ที่ดีเยี่ยม จนผู้บริโภคส่วนใหญ่ พร้อมกัน Upgrade จาก Narrowband มาเป็น Broadband และมาเป็น Ultra Hi-Speed Broadband จนเกิดปรากฏการณ์ระดับอุตสาหกรรม และประเทศในที่สุด Challenge ที่สำคัญ สำหรับนักการตลาด ไม่ว่าจะในฝั่งของผู้ให้บริการ Internet เอง หรือผู้ให้บริการ Application คือการค้นหา และให้บริการ Killer Application จนเป็นปรากฏการณ์ ดังที่ได้กล่าวมา

Napster เป็น Killer Application ตัวแรก ในยุคเริ่มต้นของการให้บริการ Broadband ราว 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ในการเข้าถึง Content ประเภทเพลง และเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การซื้อขายเพลงผ่าน Internet ในรูปแบบของ iTunes Store ฯลฯ Narrowband ใช้เวลา เกือบ 1 ชั่วโมงในการ Download แต่ละเพลง ในขณะที่ Broadband ใช้เวลา 3-5 นาทีในการ Download พฤติกรรมของผู้บริโภคในสมัยนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการบริโภคเพลงอย่างเป็นหลักพัน จึงเป็นแรงจูงใจให้ Upgrade เป็น Broadband อย่างเป็นปรากฏการณ์

Read More

DOCSIS 3.0 Ultra Hi-Speed Internet 100 Mbps

หลายเดือนที่ผ่านมา สื่อได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีไร้สายที่เรียกว่า 3G ที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา Digital Divide และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึง Internet แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน แม้จะไม่ได้เป็นข่าวหน้าหนึ่งอย่างเช่น 3G กลับเป็นเทคโนโลยีใช้สายความเร็วสูงที่เรียกว่า Ultra Hi-Speed Internet ซึ่งให้ความเร็วได้ถึง 100 Mbps และจะเริ่มมีให้บริการเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยบริษัททรู โดยจะเป็นการปูพรมในกรุงเทพและปริมณฑล และ 6 หัวเมืองใหญ่ของประเทศ ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีไร้สายคือการเข้าถึงพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล และเปิดโอกาศให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้เข้าถึง Internet เทคโนโลยีที่แพร่หลายที่สุดคือ HSPA ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 3G และให้ความเร็วได้ถึง 14 Mbps ซึ่งถือเป็นความเร็วระดับพื้นฐานของบรอดแบนด์ แต่การที่จะได้ความเร็วที่สูงกว่านั้นเพื่อการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็วในการนำส่งข้อมูลที่มีความหนาแน่นสูง เช่น High Definition Video, เกมส์, โซเชียลมีเดีย ฯลฯ และจะก้าวสู่ระดับของ Ultra Hi-Speed นั้น ยังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใช้สาย ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีใช้สายและไร้สายจะเป็นองค์ประกอบที่เสริมซึ่งกันและกัน

DOCSIS 3.0 (Data Over Cable Service Interface Specification 3.0) คือการนำส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายเคเบิลทีวี ซึ่งให้ความเร็วได้สูงกว่าการนำส่งผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL) ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถมีโอกาสใช้งาน Hi-Speed Internet ที่ 100 Mbps

Read More

3G แผ่นดินไหว สึนามิ และการเตือนภัยสาธารณะ

ระบบเตือนภัยสาธารณะ คือประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของ 3G 3GPP (The 3rd Generation Partnership Project) ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางเทคนิคของการให้บริการ 3G ได้กำหนด PWS (Public Warning System) ที่ครอบคลุมกรณีของแผ่นดินไหวและสึนามิ โดยเรียกว่า ETWS (Earthquake and Tsunami Warning System)

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ระบบนี้มักมิได้ถูกกล่าวถึงในบริบทของ 3G ขณะที่การแก้ไข Digital Divide หรือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในรูปแบบของ Internet ถูกมองเป็นจุดประสงค์หลัก การแก้ไข Digital Divide ย่อมมีความสำคัญ เพราะเป็นการลดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ฯลฯ ที่สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมของคนในประเทศ แต่การแจ้งเตือนภัยที่ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพย่อมสามารถช่วยรักษาชีวิตคนอย่างที่มิสามารถประมาณค่าได้

Read More

iPad 2 ยุคใหม่ของสื่อตีพิมพ์ไทย

ปีนี้เป็นปีสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจข้อมูลข่าวสารของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้บริการ Content ผ่าน Device รูปแบบใหม่ อย่างเช่น iPad ที่เปิดตัวมาไม่ถึงหนึ่งปี และเริ่มมีฟังชั่นภาษาไทยไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ถึงเวลานี้ ธุรกิจ Content ที่มาจากสื่อตีพิมพ์ เช่น แมกกาซีน และกระทั่งหนังสือพิมพ์ ได้แข่งกันผลิต Content เพื่อนำเสนอบน iPad ในรูปแบบของ App และได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม จนเป็น App ยอดนิยมที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ ซึ่งเทียบเท่าและเหนือกว่า App ยอดนิยม ประเภท เกมส์, Social Networks ฯลฯ ทั้งนี้ Content ส่วนมากเจาะกลุ่มสตรี และ Life Style ทั่วไป บ่งชี้ถึงอิทธิผลของธุรกิจ Content บน iPad ที่มีความสำเร็จเกินความเป็น Niche ในระดับเบื้องต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา Apple ได้เปิดตัว iPad 2 ท่ามกลางความ แตกตื่น ตกใจ จากการปรากฎตัวอย่างกระทันหันของ Steve Jobs ขณะที่กำลังลาพักจากการเจ็บป่วย iPad 2 ถือเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของ iPad รุ่นแรก อย่างไม่มีข้อผิดหวัง นอกเหนือจาก Features ใหม่ๆ ที่เห็นได้ชัด เช่น รูปลักษณ์ที่บางลง 33%, กล้องถ่ายรูปทั้งด้านหน้าและหลัง และฝาปิดที่เรียกว่า Smart Cover ยังมี Processor ที่เร็วขึ้น และการ Update ใหม่ของ Software ต่างๆ อย่างอีกมากมาย

Read More

ทรู-ฮัทช์ ประโยชน์สำหรับผู้บริโภคและอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

กรณี ทรู-ฮัทช์ อาจเป็นการนำเสนอข่าวสารเพียงมุมเดียวของสื่อมวลชน จากการตั้งประเด็นคำถาม และข้อสังเกต ของสื่อมวลชน นักวิชาการ และองค์กรอิสระ ซึ่งนำไปสู่การตรวจสอบ ของ ทรู-ฮัทช์ โดย หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ผลสำคัญของ ทรู-ฮัทช์ ที่มีต่อผู้บริโภค และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กลับมิได้ถูกกล่าวถึง ในขณะที่ ความ ผิด-ถูก ยังคงต้องพิสูจน์ ด้วยขั้นตอนของกฎหมาย หรือกระทั่งการเมืองต่อไป แต่ประโยชน์ของ ทรู-ฮัทช์ อย่างแท้จริง ที่มีต่อประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องกล่าวถึง และทำให้กระจ่างชัด

ไม่จำเป็นต้องอธิบาย ถึงประโยชน์ของ 3G ในการพัฒนาประเทศ แก้ไข Digital Divide และความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีไร้สาย ในการเข้าถึงพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลของประเทศไทย

ความพยายามของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ที่ขณะนี้ตามกฎหมายใหม่ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ กสทช. ไม่ใช่ครั้งแรก ที่จะมีบริการ 3G ในประเทศไทย

Read More

3G และ HSPA: ต่างชาติมองประเทศไทย

หลายเดือนที่ผ่านมา ได้พบกับนักลงทุน และผู้บริหารของบริษัทคู่ค้าต่างชาติ อยู่หลายราย แต่ประเด็นแรกๆที่ถูกซักถาม คือความเป็นไปของกระบวนการที่จะทำให้มี 3G ใช้ทั้งประเทศ และเหตุใดที่ความพยายามในสมัยของ กทช ต้องมาล้มไป และกระทั่งความคืบหน้าในช่วงเดือนที่ผ่านมา ที่กลุ่มบริษัทเอกชนมีความพยายามจะทำ 3G บนคลื่นเดิม ว่าทำไมต้องมีกลุ่มคนออกมาต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ความข้องใจของชาวต่างชาติ ไม่ใช่ประเด็นข้อกฎหมาย ความถูกผิดต่อรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ แต่เป็นเพราะเหตุใด คนไทยด้วยกันเอง มักออกมาขัดขวาง สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งในด้าน ธุรกิจ สังคม และ การศึกษา เมื่อราว 2 ปีก่อน บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในด้าน Smartphones และ Tablet PCs ได้เคยจัดเกรดประเทศไทยไว้เป็น Tier 2 ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ ฮ่องกง สิงค์โปร์ ไต้หวัน ฯลฯ ในขณะที่ Tier 1 คือสหรัฐ ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก อันดับของ Tier หมายถึงอันดับความน่าลงทุนและประกอบธุรกิจ แต่มายุคสมัยนี้ ประเทศไทยตกลงไปอยู่กลุ่ม Tier 3 ในขณะที่ Tier 4 คือกลุ่มประเทศภาวะสงครามหรือก่อการร้าย ที่บริษัทนี้จะไม่ลงทุนและประกอบธุรกิจด้วย

Venture Capitalists ต่างชาติก็เช่นกัน ได้นำ Capital หลายพันล้านดอลล่าร์ เพื่อลงทุนใน บริษัท Technology Startups (Dot Coms) ใน South East Asia หากเป็น 2 ปีก่อน เป้าหมายหลักจะเป็นเวียดนาม แต่ในปัจจุบัน เป้าหมายหลักได้เปลี่ยนเป็นอินโดนีเซีย โดยประเทศไทย ได้แต่ถูกมองข้ามมาตลอด

Read More

CDMA vs. GSM: เทคโนโลยี หรือ กลไกตลาด

ถกเถียงกันมานาน ระหว่าง CDMA หรือ GSM อะไรจะดีกว่า หรือเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ของประเทศไทย มากกว่า ความแตกต่างคือวิธีการใช้คลื่นความถี่ โดย CDMA เป็น Code Division Multiple Access ส่วน GSM เป็น Time Division Multiple Access โดยหลักแล้ว เมื่อเทียบในกลุ่มเทคโนโลยี 2G จะถือกันว่า CDMA สามารถประยุกต์ใช้คลื่นความถี่ได้ดีกว่า จึงเหมาะสมกับบริการด้าน DATA อย่างไรก็ดี เมื่อมาเป็นยุค 3G แล้ว GSM กลับเปลี่ยนมาใช้เป็น Code Division Multiple Access ซึ่งเรียกเป็น WCDMA หรือ Wideband Code Division Multiple Access ซึ่งจะถูกพัฒนามาเป็น HSDPA หรือ High-Speed Downlink Packet Access ซึ่งมีความเร็วสูงยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเทคโนโลยีที่น่าจะเหนือกว่า แต่แล้วทำไม CDMA ถึงไม่ประสบความสำเร็จ

จากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 5 พันล้านคนทั่วโลก เพียง 10-15% เท่านั้นที่ใช้ CDMA ในขณะที่ 85-90% กลับใช้ GSM ทั้งนี้ต้องคำนึงว่า CDMA เป็นเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐ โดยที่ กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรใช้ CDMA แต่สำหรับประเทศอื่นๆทั่วโลกแล้ว CDMA กลับไม่แพร่หลายเลย สำหรับในประเทศไทยแล้ว มีผู้ใช้ CDMA อยู่เพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าสถิติของโลกอีก

Read More

GPRS, EDGE, UMTS & HSPA: วิวัฒนาการสู่ 3G และอนาคต

เทคโนโลยี 3G ได้เป็นข่าวหน้าหนึ่งอีกหลายๆครั้ง ในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะได้เป็นโอกาสสำคัญ ของความเปลี่ยนแปลง ที่จะนำไปสู่ประโยชน์อย่างแท้จริงของผู้บริโภค และจะเป็นอีกครั้งที่ Internet ความเร็วสูง หรือ Broadband ในรูปแบบของเทคโนโลยีไร้สาย จะสามารถแผ่กระจาย ไปยังพื้นที่ ที่ไม่เคยเข้าถึง Internet มาก่อน ดั่งที่เรียกเป็นปัญหาของ Digital Divide และเป็นที่เห็นพ้องต้องกัน ว่าการเข้าถึง Internet ในประเทศไทย ต้องอาศัยเทคโนโลยีไร้สายเท่านั้น จึงจะมีพัฒนาการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้ปรากฏตัวย่อมากมายหลายประการ เช่น GPRS, EDGE, UMTS และ HSPA หรือ กระทั่ง 2G และ 3G บนหน้าหนังสือพิมพ์ และพื้นที่สื่อต่างๆ ถึงแม้จะเป็นที่คุ้นเคย ในวงการโทรคมนาคม แต่สำหรับบุคคลทั่วไป อาจเข้าถึงได้ยาก ในความแตกต่าง ความเป็นมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบของตัวย่อเหล่านี้ ที่มีต่อผู้บริโภค

การใช้งาน Data ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้ถูกบุกเบิก ด้วยเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) ที่ให้บริการที่ความเร็ว 56 kbit/s และถูกเรียกเป็น 2.5G ซึ่งหากเป็น 2G แบบดั้งเดิม บริการที่นอกเหนือจาก Voice มีอยู่เพียง SMS เท่านั้น และปราศจาก Data ได้รูปแบบของ Internet ความเร็ว ของ GRPS อยู่ในขั้น Narrowband ประจวบกับ เทคโนโลยีของ Smartphones ซึ่งยังไม่แพร่หลาย ในยุค 2.5G การใช้งาน Data จึงเป็นไปอย่างเท่าที่จำเป็น คือการใช้งาน E-Mails หรือเข้า Web Sites อย่างง่ายๆ เท่านั้น สำหรับประเทศไทยแล้ว ข้อดีของ GRPS คือเป็นการลงทุนพื้นฐาน และอยู่ในพื้นที่ทั่วๆไป ส่วนข้อจำกัดคือ ไม่ใช่ Broadband และไม่เพียงพอต่อการเข้าถึง Internet อย่างมีประสิทธิภาพ

Read More

Technology Convergence ในโทรคมนาคม จาก Femtocell สู่ iPhone iOS 4.3

Technology Convergence เป็นคำศัพท์ ที่มักได้ยินบ่อยในวงการโทรคมนาคม ตั้งแต่ Technology ของการสื่อสารเริ่มเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบ Digital ความเป็นไปได้ของการประสมประสานหลาย Technology เข้าด้วยกัน กลับเป็นเรื่องง่าย เริ่มจาก VOIP เมื่อไม่กี่ปีก่อน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเสียงผ่านระบบ Digital เช่น Internet ปัจจุบันได้มี Technology Convergence หลายรูปแบบ เช่น IPTV, Smartphones, Connected TV ฯลฯ จนอาจเรียกได้ว่า Technology อะไรก็ตาม เมื่อสามารถแปลงเป็น Digital ได้แล้ว สามารถนำไปประสมประสานแปลงรูปแบบร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เป็น Digital ได้เช่นกัน ไม่ใช่เรื่องยาก ปัจจุบัน Technology Convergence ที่มีความสำคัญต่อการให้บริการการเชื่อมต่ออย่างไร้สายคงหนีไม่พ้น Femtocell ซึ่งเป็นกล่องสัญญาณขนาดเล็ก ที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งเองโดยเชื่อมต่อสัญญาณ Broadband จาก ADSL และแปลงออกมาเป็นสัญญาณ 3G ได้ นี่หมายความว่า ผู้ใช้สามารถเป็นเจ้าของเสาอากาศ 3G ขนาดเล็กในบ้านของตัวเองได้ โดยอาศัยสัญญาณ จาก ADSL Broadband

Read More

นวัตกรรม Cloud Computing กับประเทศไทย

คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า IT ได้มามีความสำคัญต่อระบบธุรกิจอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็นการลงทุนที่มีโอกาสสิ้นเปลืองสูง เพราะคาดเดาการใช้งาน (Utilization) ที่แท้จริงได้ยาก และยังต้องมีการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ Technology สลับซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน แทนที่จะนำมาซึ่งความได้เปรียบทางกลยุทธ์ (Strategic Advantage) IT ที่บริหารผิดพลาด กลับจะเป็นภาระและอุปสรรคต่อธุรกิจที่แท้จริงของบริษัท การตัดสินใจพื้นฐานที่สำคัญ (Fundamental Decision) ในทุกธุรกิจ คือการที่จะทำเองหรือ Outsource นวัตกรรม Cloud Computing ไม่ต่างกับการ Outsource ระบบ IT รูปแบบ (Model) ที่ประสบความสำเร็จของ Cloud Computing คือการ Outsource ในส่วนของทรัพยากรประมวลผล (Computing Resources) ซึ่งรวมไปถึง CPU, Memory, Hardisk หรือกระทั่ง Bandwidth ซึ่งหากจะเป็นรูปแบบของการทำเอง คือการซื้อ Server ที่มีปริมาตรของ Computing Resources ตามที่กล่าวมา แต่ก็มีปัญหาดังกล่าวคือ คาดเดาการใช้งานได้ยาก และยังต้องบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง การใช้ Cloud Computing จ่ายเงินเมื่อต้องใช้ทรัพยากรเท่านั้น ซึ่งถึงแม้ราคาต่อหน่วยจะแพงกว่า แต่ไม่จ่ายเกินกว่าที่ใช้งานจริง จึงสามารถบริหารค่าใช้จ่ายให้ต่ำกว่าการซื้อ Server ได้ไม่ยาก

Read More

พ.ร.บ. กทสช. อาจมีส้มหล่นสำหรับ 3G

ผ่านไปแล้วทั้งสองสภาสำหรับ พ.ร.บ. กทสช. แต่ไม่ทันจะประกาศเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ ก็เริ่มแผลงฤทธิ์แล้ว สำหรับเงื่อนไขที่เป็นปัญหาแต่ไม่มีความพยายามที่จะแก้ไขในกมธ.ร่วม ขณะที่ความพยายามส่วนใหญ่ กลับนำไปใช้ถกเถียงเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็น กสทช. ถึงขั้นลงรายละเอียดตั้งแต่อายุ การศึกษา และประสบการณ์การทำงาน แต่ภาระหน้าที่ หรือกระทั่งข้อบังคับที่เป็นประโยชน์หรือโทษ ต่อกิจการโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุกระจายเสียง ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาหลายๆอย่างของประเทศได้ กลับไม่มีใครพูดถึงเลย ผลที่ได้คือการแฝงตัวของกฎระเบียบสองสามข้อ ที่ใช้พื้นที่เพียงไม่กี่บรรทัด แต่ต่อไปจะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติอย่างมหันต์ และในบางกรณีก็เริ่มปรากฎผลแล้ว อย่างไรก็ดี อาจมี ส้มหล่น สำหรับ 3G เพราะ พ.ร.บ. กทสช. ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ กทช. รักษาการแทน กสทช. ภายใต้หมวกใบใหม่ กทช. อาจมีอำนาจเพียงพอที่จะจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ได้ ซึ่งไม่ได้ทำในนาม กทช. แต่ภายใต้การเป็น รักษาการ กสทช. และมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้มากกว่าหมวกใบเดิม

Read More

Cloud Computing โอกาสหรือความท้าทาย ที่อยู่ใกล้ตัว

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีทั้่งเรื่องราวที่ตื่นเต้น และระทึกใจ ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ที่ตื่นเต้น คือการจับมือระหว่าง True และ Microsoft เพื่อให้บริการ Cloud Computing ในประเทศไทย โดย Kevin Turner ผู้เป็น COO ของ Microsoft จาก Redmond, Washington ได้เดินทางมาร่วมแถลงข่าวเอง ส่วนที่ระทึกใจ คือการล้มอย่างไม่เป็นท่า ของ Amazon ผู้ให้บริการ Cloud Computing รายใหญ่อีกราย จนทำให้เว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Foursquare, Quora และ Reddit ต้องล้มตามกัน และให้บริการไม่ได้อยู่หลายวัน จนเกิดการตั้งคำถามที่ว่า Cloud Computing เป็นโอกาสที่แท้จริง หรือความท้าทาย และการพัฒนาสู่ยุคของ Cloud เป็นสิ่งที่ดีต่ออุตสาหกรรมหรือไม่ ในวงการ IT และ Telecom คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Cloud Computing ความจริงแล้ว Cloud Computing หมายถึง การให้บริการการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบโครงข่าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การประมวลผลขั้นพื้นฐาน คือการให้บริการ CPU, Storage และ Memory ซึ่งผู้ใช้ต้องมาประยุกต์เอง ก่อนจะถึงมือผู้บริโภค อีกขั้นตอนหนึ่ง จนถึงการให้บริการ Application สำเร็จรูป เพื่อถึงมือผู้บริโภคโดยตรง แต่ลักษณะจำเพาะของ Cloud Computing ทั้งหมด คือการที่ Hardware, Software และการ Admin ขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการทั่วไป จนถึงการ Upgrade อยู่ในสถานที่และเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้ใช้บริการ สามารถ Focus ที่ Function หลักของการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มที่

Read More