GPRS, EDGE, UMTS & HSPA: วิวัฒนาการสู่ 3G และอนาคต

เทคโนโลยี 3G ได้เป็นข่าวหน้าหนึ่งอีกหลายๆครั้ง ในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะได้เป็นโอกาสสำคัญ ของความเปลี่ยนแปลง ที่จะนำไปสู่ประโยชน์อย่างแท้จริงของผู้บริโภค และจะเป็นอีกครั้งที่ Internet ความเร็วสูง หรือ Broadband ในรูปแบบของเทคโนโลยีไร้สาย จะสามารถแผ่กระจาย ไปยังพื้นที่ ที่ไม่เคยเข้าถึง Internet มาก่อน ดั่งที่เรียกเป็นปัญหาของ Digital Divide และเป็นที่เห็นพ้องต้องกัน ว่าการเข้าถึง Internet ในประเทศไทย ต้องอาศัยเทคโนโลยีไร้สายเท่านั้น จึงจะมีพัฒนาการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้ปรากฏตัวย่อมากมายหลายประการ เช่น GPRS, EDGE, UMTS และ HSPA หรือ กระทั่ง 2G และ 3G บนหน้าหนังสือพิมพ์ และพื้นที่สื่อต่างๆ ถึงแม้จะเป็นที่คุ้นเคย ในวงการโทรคมนาคม แต่สำหรับบุคคลทั่วไป อาจเข้าถึงได้ยาก ในความแตกต่าง ความเป็นมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบของตัวย่อเหล่านี้ ที่มีต่อผู้บริโภค

การใช้งาน Data ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้ถูกบุกเบิก ด้วยเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) ที่ให้บริการที่ความเร็ว 56 kbit/s และถูกเรียกเป็น 2.5G ซึ่งหากเป็น 2G แบบดั้งเดิม บริการที่นอกเหนือจาก Voice มีอยู่เพียง SMS เท่านั้น และปราศจาก Data ได้รูปแบบของ Internet ความเร็ว ของ GRPS อยู่ในขั้น Narrowband ประจวบกับ เทคโนโลยีของ Smartphones ซึ่งยังไม่แพร่หลาย ในยุค 2.5G การใช้งาน Data จึงเป็นไปอย่างเท่าที่จำเป็น คือการใช้งาน E-Mails หรือเข้า Web Sites อย่างง่ายๆ เท่านั้น สำหรับประเทศไทยแล้ว ข้อดีของ GRPS คือเป็นการลงทุนพื้นฐาน และอยู่ในพื้นที่ทั่วๆไป ส่วนข้อจำกัดคือ ไม่ใช่ Broadband และไม่เพียงพอต่อการเข้าถึง Internet อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมา มีการพัฒนาเทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data GSM Environment) ซึ่งถูกเรียกว่า 2.75G หรือเกือบจะเป็น 3G แล้ว และให้ความเร็วที่ 236.8 kbit/s ซึ่งสูงกว่า GPRS ราว 4 เท่า และสูงกว่า Narrowband ตามมาตรวัดทั่วๆไป แต่ยังไม่สามารถเป็น Broadband ได้ ในยุคของ EDGE เทคโนโลยี Smartphones ได้พัฒนามาขึ้นอีกระดับหนึ่ง ทำให้การใช้งาน Data เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ยังไม่สามารถทดแทน Computer ตั้งโต๊ะ หรือกระทั่ง Laptop ที่เข้าถึง Internet ด้วย WiFi ได้ สำหรับประเทศไทยแล้ว EDGE มีให้บริการเฉพาะย่านธุรกิจหรือเขตชุมชน โดยมิได้มีความแพร่หลายอย่าง GPRS

สำหรับ 3G ได้เริ่มต้นที่ความเร็ว 384 kbit/s ด้วยเทคโนโลยี UMTS (Universal Mobile Telecommunications Service) ถึงแม้จะเร็วกว่า EDGE ไม่มาก เพราะ EDGE เป็น 2G ที่พัฒนาสูงสุดแล้ว แต่ UMTS เป็น 3G อย่างแรกเริ่ม แต่ 3G จะเป็นรากฐานของวิวัฒนาการสู่ความเร็วที่สูงกว่า ดังที่เรียกว่า HSPA (High Speed Packet Access) หรือ 3.5G ที่ให้ความเร็วถึง 14,400 kbit/s และเป็นเทคโนโลยี ที่ความเร็วสูงสุด ที่มีให้บริการอยู่ในประเทศไทย แม้จะถูกเรียกรวมเป็น 3G แต่ความจริงเป็น 3.5G แล้ว ความเร็วของ HSPA ถือว่าเป็น Broadband ซึ่งในบางครั้ง ได้ความเร็วที่สูงกว่า Broadband อย่างมีสาย ที่มีให้บริการอยู่ในประเทศไทย พัฒนาการของ HSPA ประจวบกับจุดเริ่มต้นของ Smartphones ที่ประสบความสำเร็จใจปัจจุบัน เช่น iPhones หรือ Android รุ่นต่างๆ ที่เอื้อต่อการใช้บริการ Internet อย่างมีประสิทธิภาพ HSPA จึงเป็น Broadband อย่างไร้สาย ซึ่งสามารถทดแทนการเข้าถึง Internet ด้วย​ Laptop และ WiFi

ข้อจำกัดในปัจจุบัน คือ HSPA ก่อนหน้านี้มีให้บริการเฉพาะในกรุงเทพ โดยมีผู้ให้บริการหลักเพียงรายเดียว ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และไม่ได้แก้ไขปัญหาของ Digitial Divide ซึ่งจำเป็นต้องขยายการเข้าถึง Internet ไปสู่พื้นที่ ในเขตห่างไกล

อีกข้อจำกัดหนึ่ง การให้บริการ 3G ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง HSPA หรือ 3.5G ในปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้ ยังจำกัดอยู่ที่คลื่นความถี่ 850Mhz ซึ่งไม่ใช่คลื่นมาตรฐานสำหรับ 3G อย่าง 2100Mhz จึงมีข้อจำกัดในอุปกรณ์มือถือ ที่สามารถใช้บริการได้ แต่อาจยังโชคดีที่ Smartphones บางรุ่นเช่น iPhones เป็น Quadband ที่รองรับทั้ง 850Mhz และ 2100Mhz จึงสามารถใช้บริการ 3G ได้ในประเทศไทย ในขณะที่โทรศัพท์มือถือทั่วๆไป ส่วนมากไม่รองรับ 850Mhz

ท่ามกลาง ข้อจำกัด และ โอกาศ 3G ของประเทศไทย ได้มีความเป็นไปได้อีกครั้ง ต้องเฝ้าดูต่อไป ถึงความแตกต่าง และเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

Published in Transport Journal in February 2011