รู้หน้าแล้วรู้ใจ AI ที่แม่นกว่าหมอดู

วันนี้เป็นวันครบรอบ 16 ปี ของเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน ที่เป็นปฏิบัติการก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลก

สิ่งที่ตามมาไม่นานหลังจากนั้น คือความพยายามของรัฐบาลของชาติต่างๆ ที่นำโดยรัฐบาลสหรัฐ ที่จะเฟ้นหามาตรการเพื่อป้องกันมิให้ประวัติศาสตร์ต้องมาซ้ำรอยอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจจับใบหน้าด้วยสมองกล หรือ Face Recognition ด้วย Artificial Intelligence เป็นหนึ่งในมาตรการทางเทคโนโลยี ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในยุคนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กล้องวงจรปิดในสถานที่สำคัญ สามารถตรวจจับใบหน้าของคนร้ายที่เคยมีประวัติ และสามารถแจ้งเตือนได้อย่างอัตโนมัติ ทันทีที่คนร้ายเหล่านั้น ได้ย่างกรายเข้ามาในสถานที่ที่มีความสำคัญ

Read More

อธิปไตยทางดิจิตอล อีกภัยคุกคามทางไซเบอร์

สองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ได้เขียนถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่มักจะอยู่ภายใต้เรดาร์ของการกำกับดูแลภายในประเทศไทย อันได้แก่

1. การลักลอบเข้าถึงระบบข้อมูลสารสนเทศหรือระบบการสื่อสาร เพื่อโจรกรรมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล อันมีความสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือของชาติ

2. การแผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และหรือ

3. การทำลายระบบข้อมูลสารสนเทศหรือระบบการสื่อสาร

Read More

E.T. Phone Home ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แท้จริง

เมื่อพูดถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์อันร้ายกาจแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง 

1. การลักลอบเข้าถึงระบบข้อมูลสารสนเทศหรือระบบการสื่อสาร เพื่อโจรกรรมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล อันมีความสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือของชาติ

2. การแผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และหรือ

3. การทำลายระบบข้อมูลสารสนเทศหรือระบบการสื่อสาร

Read More

AI ภัยคุกคาม ที่ต้องสะพรึงกลัว?

AI หรือ Artificial Intelligence ซึ่งแปลเป็นไทยว่า สมองกล เป็นเทคโนโลยี ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว หนือความสามารถของมนุษย์ โดยที่ไม่ต้องอาศัยมนุษย์เป็นผู้ควบคุม นอกจากนี้ AI ยังสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องอาศัยมนุษย์เป็นผู้ป้อนข้อมูลหรือเขียนโปรแกรมให้ใหม่

ความแตกต่างระหว่าง AI และระบบคอมพิวเตอร์ในยุคเดิม คือ คอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้า สามารถตัดสินใจแทนมนุษย์ ได้เฉพาะในเรื่องที่ไม่มีความสลับซับซ้อน และยังคงต้องอาศัยมนุษย์เป็นผู้ควบคุม นอกจากนี้ ยังเป็นการตัดสินใจในเรื่องที่มนุษย์ได้กำหนดมาแล้ว ด้วยการป้อนข้อมูลหรือเขียนโปรแกรม และคอมพิวเตอร์จะไม่มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

คอมพิวเตอร์ในยุคเดิม แม้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่มนุษย์ได้โปรแกรมมาแล้ว ซึ่งแตกต่างกับ AI ที่ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่ามนุษย์ แม้จะเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน และเรื่องที่เกินขอบเขตจากที่มนุษย์ได้เขียนโปรแกรมเอาไว้แล้ว

Read More

บันทึกข้อมูลดิจิตอลด้วยดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต

ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์” อีกครั้งหนึ่ง 

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ ได้นำเสนอรูปแบบของธุรกิจและบริการใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาให้อุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจของไทย ได้ก้าวเดินต่อไปข้างหน้า

สิ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัด คือกว่าครึ่งหนึ่งของสตาร์ทอัพที่มานำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของธุรกิจและบริการ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากยุคดิจิตอลอย่างที่แยกกันไม่ขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเทคโนโลยีดิจิตอล มาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการ ที่ยังคงอยู่ในยุคของ ไทยแลนด์ 1.0 เพื่อให้เข้าสู่ยุค 4.0 ได้อย่างรวดเร็ว

Read More

OTT กับความมั่นคงทางไซเบอร์

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ คงไม่มีวาทกรรมใด ที่จะร้อนแรงไปกว่าการกำกับดูแล OTT ของ กสทช. ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่ต้องการจะกำกับดูแล และฝ่ายที่ไม่ต้องการที่จะถูกกำกับดูแล

วัตถุประสงค์ของบทควาทนี้ มิใช่จะมาตัดสินว่า วาทกรรมใดถูกหรือผิด แต่เพื่อเป็นการทบทวนว่า เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และอะไรคือสิ่งที่ควรเกิดขึ้นต่อไปหลังจากนี้

กรณีโต้แย้งที่สำคัญ ของการกำกับดูแล OTT คือการที่หน่วยงานรัฐของไทย จะมากำกับดูแลผู้ให้บริการโครงสารพื้นฐานที่สำคัญในโลกดิจิตัล ที่ให้บริการจากต่างประเทศ ให้มาอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่ เสิร์ชเอนจิน โซเชียลเน็ตเวิร์ค โซเชียลมีเดีย หรือกระทั่ง อีคอมเมอร์ส ที่ได้เริ่มมาทดแทนโครงพื้นฐานที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร และกระทั่งการทำธุรกรรมทางการค้า ซึ่งนับวันอิทธิพลจะแผ่ขยายอย่างไร้ขีดจำกัด ตามวิวัฒนาการของดิจิตอลที่กำลังเติบโตในโลกเสรี

Read More

ขาลงของธุรกิจโทรทัศน์ ไม่ใช่แค่เรื่องของดิจิตอล แต่ไทยต้องเสียมากกว่าดุลย์การค้า?

ในช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะภายหลังจากที่ประเทศไทย ได้เข้าสู่ยุคของดิจิตอลอย่างเต็มตัว ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน และบริการจากโลกอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกแห่งหน โดยประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศแล้ว ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในประเทศไทย ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสินค้า, บริการ หรือ ไลฟ์สไตล์ ที่ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถเข้าถึงได้ ในยุคดิจิตอล เช่นปัจจุบัน คนไทยไม่ต้องคอยนาน ก็สามารถที่จะเข้าถึงไลฟ์สไตล์เหล่านี้ได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มิอาจที่จะปฏิเสธได้เลย ก็คือ ไลฟ์สไตล์ ในประเทศไทย ยังคงตามหลังประเทศที่พัฒนาแล้ว การศึกษาเทรนด์ทั้งในอดีตและปัจจุบันของต่างประเทศ จะทำให้สามารถคาดคะเนถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเกิดขึ้นใหม่ของเทคโลยีแตกกระจาย (Disruptive Technology)

สำหรับผู้เขียนเอง ได้เคยผ่าน ยุคที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีอินเทอร์เน็ตและประเทศไทยยังไม่มี และยุคที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีไอโฟนและประเทศไทยยังไม่มี ทั้งสองสิ่งเป็น Disruptive Technology ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งนำไปสู่การปฏิวัติของหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในที่สุดการปฏิวัติเหล่านั้น ก็ได้มาเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีรูปแบบและผลกระทบที่ไม่แตกต่างกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว

Read More

การกำหนดราคาของ Bitcoin

สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากการที่ ราคาของ Bitcoin ได้ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุด อย่างเป็นประวัติการณ์ ที่ 2,679 USD ต่อหน่วย หรือเทียบเป็น 91,219 บาทนั้น ก็ได้เกิดปรากฎการณ์ ของราคา Bitcoin ที่ได้ลดลงอย่างเป็นที่น่าตกใจ ภายใน 48 ชั่วโมง โดยเหลือเพียง 2,059 USD หรือเทียบเป็นการสูญเสียมูลค่าถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 2 วัน ก่อนที่ ราคาจะเริ่มทยอยกลับคืนสู่ระดับที่สูงสุด ในหลายวันต่อมา

ความผันผวนของราคา Bitcoin นั้น ทำให้เกิดคำถาม สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสนใจ Bitcoin ว่าใครเป็นผู้กำหนดราคา และมีใครที่จะสามารถมารับประกันไหมว่า มูลค่าที่เราได้ลงทุนเข้าไปใน Bitcoin จะไม่ลดลง หรือกระทั่งอันตรธานหายไป

ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ ผู้ที่สนใจใน Bitcoin จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของค่าของเงินเสียก่อน และวิวัฒนาการของเงิน จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน

Read More

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ บิทคอยน์

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวหน้าหนึ่ง ของ WannaCry ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่ได้โจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกือบทุกมุมโลก และทำการเรียกค่าไถ่ เพื่อแลกกับการปลดล็อกข้อมูล ที่ถูกเข้ารหัสโดยไวรัสร้ายนี้

แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือในแวดวงธุรกิจของประเทศไทย กลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ไวรัสที่ชื่อ WannaCry นี้มากนัก เพราะไวรัสคอมพิวเตอร์ไม่ใช่อะไรที่แปลกใหม่อีกต่อไป และหลายคนได้มีความคุ้นเคยกับไวรัส มาตั้งแต่ก่อนยุคของอินเทอร์เน็ตเสียอีก ในทางกลับกัน หลายคนในแวดวงธุรกิจ กลับมีความตื่นตัวและสนใจกับ บิทคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งเป็นวิธีการจ่ายค่าไถ่ สำหรับไวรัส WannaCry

ถึงแม้ว่า Bitcoin จะได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2009 (8 ปีแล้ว) แต่คนไทยน้อยคน ที่จะรู้ว่า Bitcoin นั้นคืออะไร นอกเหนือไปจาก วิธีการจ่ายเงินอีกวีธีหนึ่ง บนโลกอินเทอร์เน็ต และการที่จะอธิบายว่า Bitcoin นั้นคืออะไร ไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับผู้ฟังที่ไม่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

Read More

Omni Channel การตลาดที่น่าสะพรึงกลัว

ไม่ว่าธุรกิจ จะตื่นตัวกับ ดิจิตอล อีโคโนมี มาเป็นเวลากี่ปีแล้วก็ตาม ธุรกิจดั้งเดิม อย่างเช่น Walmart Costco และ Kroger ก็ยังคงเป็นธุรกิจค้าปลีก ที่มียอดขายเป็นอันดับ ที่ หนึ่ง สอง และ สาม ของโลก ในขณะที่ Amazon ธุรกิจยักษ์ใหญ่ อันดับหนึ่ง แห่งโลกอีคอมเมิร์ซ ก็ยังคงมียอดขายเป็นเพียงอันดับที่ 12 เมื่อเปรียบกับ ธุรกิจค้าปลีกแห่งโลกธุรกิจดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอีคอมเมิรซ์ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมได้ทยอยปิดตัวลง แม้แต่ วาเร็น บัฟเฟตต์ ก็ได้เทขายหุ้นของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิม จนเป็นข่าวคราวระดับโลก

แต่ถึงกระนั้น ธุรกิจดั้งเดิม ที่ยังคงเหลืออยู่ มีข้อได้เปรียบในด้านของความใหญ่ เงิน และช่องทางที่หลากหลาย ในการทำการตลาด และเข้าถึงลูกค้า (Multi Chanel Marketing) เพราะแม้แต่ ธุรกิจดั้งเดิม เช่น Walmart Costco และ Kroger ต่างก็พัฒนาอีคอมเมิร์ซของตัวเองขึ้นมาทั้งสิ้น 

Read More

นวัตกรรมในยุคหลังสมาร์ทโฟน

“ยุคหลังสมาร์ทโฟน” 

ไม่เคยคิดไม่เคยฝันเลยว่า วันหนึ่งจะต้องได้มาพูดคำนี้ เพราะไม่กี่ปีมานี้เอง เรายังคงที่จะพูดถึง “ยุคหลังคอมพิวเตอร์” “ยุคหลังทีวี” และ “ยุคหลัง ...” อยู่เลย เพราะสมาร์ทโฟนคือนวัตกรรมที่ได้มาแทนที่สิ่งเหล่านี้

แต่บัดนี้  เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปแล้วว่า สมาร์ทโฟน ได้มามีอิทธิพลอย่างสูงสุด กับชีวิตความเป็นอยู่ การขับเคลื่อนของเศรษฐกิจและสังคม ในยุคที่เรียกกันว่า “ดิจิทัล”

Read More

เกษตร 4.0 ทางเลือก-ทางรอดของเกษตรกรไทย

หลายเดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าร่วมศึกษา การพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนพิการ ร่วมกับสมาคมสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ที่ได้เลือกเกษตรกรรม เป็นอาชีพทางเลือก เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ให้กับคนตาบอดและครอบครัว

สิ่งที่ได้สัมผัส จากการลงไปสำรวจพื้นที่ ที่ไม่แตกต่างจากความเข้าใจพื้นฐานของสังคม ก็คือเกษตรกรส่วนใหญ่ของไทย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่มีคนตาบอดหรือไม่ ล้วนเป็นเกษตรกรแปลงเล็ก ขาดความรู้ทางด้านเทคนิค การเงิน การบริหารจัดการ และยังมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขาดการวางแผนล่วงหน้า โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อความอยู่รอด ระหว่างรอบของการเก็บเกี่ยว และรอบของการกู้หนี้ยืมสินเท่านั้น

Read More

Google Tax ประเทศไทย ถึงเวลาแล้ว?

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเป็นสัญญานที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลไทย จากยุคนี้เป็นต้นไป จะไม่ยอมเสียเปรียบให้กับธุรกิจข้ามชาติอีกต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจในยุคดิจิทัล

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีความคืบหน้า ของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสากล โดยจะต้องมองถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ซึ่งรวมไปถึงรูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ และปริมาณของธุรกรรม ที่จะมีขึ้นบนอินเทอร์เน็ตต่อไป

สาระสำคัญที่แสดงให้เห็นถึง แนวคิดอันก้าวหน้า ของรัฐบาลชุดนี้ คือการที่จะกำหนดให้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จะต้องจดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรเท่านั้นถึงจะสามารถทำธุรกิจในไทยได้ ถึงแม้จะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ก็จะต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง แต่หากไม่มาขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรแล้วเว็บไซต์เหล่านั้นก็จะถูกปิดถาวรทันที

Read More

Omni Channel อุตสาหกรรมตะวันที่ไม่ยอมตกดิน

กว่าหนึ่งปีมาแล้ว ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ธุรกิจ Modern Trade ที่ได้ประสมประสาน วิทยาการแห่ง Omni Channel จากทั้งในสหรัฐอเมริกา และ ในยุโรป

แม้ทั้งสองทวีป จะมีเป้าหมายทางการเมืองที่แตกต่าง แต่กลับมีเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน นั่นก็คือ การต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด จากการถูกครอบงำ และการถูก Disrupt โดยกลุ่มธุรกิจ E-Commerce จนกระทั่งถึงขั้นสูญสิ้นอุตสาหกรรม

แน่นอน ธุรกิจ E-Commerce ที่ธุรกิจจากทั้งสองทวีปนั้นมีความหวาดกลัว ย่อมต้องหมายถึง Amazon เป็นอันดับแรก ซึ่งไม่กี่ทศวรรษก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นธุรกิจ Start Up ที่คงยังลุ้นเกิดลุ้นดับอยู่เลย

Read More

ข้อมูลส่วนบุคคล ในมือมหาอำนาจ

โครงสร้างอำนาจทางการปกครองสูงสุด ของนานาอารยประเทศ มักมีรากฐานมาจากการถ่วงดุลย์ทางการเมือง ระหว่าง ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งแม้แต่รัฐบาลไทยในปัจจุบัน ก็เป็นรูปแบบที่มีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายเช่นกัน

ทั้งนี้ บทเรียนที่มีค่า มักเกิดขึ้นเมื่อ การคานอำนาจได้ถูกใช้งานจริงๆ โดยสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง คือการคานอำนาจระหว่าง ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เช่นในกรณีที่ศาลได้ออกมายับยั้งคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหาร และในกรณีที่ศาลต้องมาพิพากษาการใช้อำนาจทางปกครองของของฝ่ายบริหาร

สำหรับในกรณีแรก สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวคราวอันอื้อฉาว เมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ยับยั้งคำสั่งทางปกครองของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่ห้ามการเข้าเมืองของผู้ที่มาจากชาติมุสลิม 7 ประเทศ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพในการถ่วงดุลย์ทางการเมือง ของอำนาจสูงสุดในประเทศ

Read More

TPP กับความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจดิจิทัล

สัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ ได้สาบานตน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 อย่างเป็นทางการ และหนึ่งในกิจกรรมแรก ของ ประธานาธิบดีทรัมป์  ก็คือการออกคำสั่งถอนตัวสหรัฐอเมริกาออกจาก Trans-Pacific Partnership (TPP)

สัปดาห์ที่ผ่านมาอีกเช่นกัน พรบ การพัฒนาดิทิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๒๕๖๐ ของราชอาณาจักรไทย ก็ได้ถูกเผยแพร่ลงบนราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ

แม้จะเป็นเหตุบังเอิญ ที่ทั้งสองเหตุการณ์นี้ ได้บังเกิดขึ้นในสัปดาห์เดียวกัน แต่ TPP กับ เศรษฐกิจดิจิทัล นั้นมีความเกี่ยวพันในเชิงลึก ที่หลายคนอาจไม่รู้ และข้อตกลง TPP ได้มีบทบัญญัติที่ซ่อนเร้น เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะยังให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการค้า ระหว่างชาติมหาอำนาจทางเทคโนโลยี และชาติที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย

Read More

หุ่นยนต์ ภัยของความเหลื่อมล้ำ?

อีกไม่กี่สัปดาห์ ก็จะถึงเวลาที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ

ทรัมป์ ได้เคยประกาศระหว่างหาเสียงเลือกตั้งว่า จะย้ายอาชีพของชาวอเมริกันกลับมาที่สหรัฐ หลังจากที่ได้สูญเสียการจ้างงานไปยังประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า เช่น จีน เม็กซิโก ฯลฯ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การจ้างงาน เป็นวาทะกรรมที่ร้อนแรงการเมือง เพราะการมีอาชีพเป็นปัจจัยหลักในการหาเลี้ยงชีพของชาวอเมริกัน

Read More

สตาร์วอร์ส: ตำนานแห่งดิจิตอล

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวของ “โรกวัน: ตำนานสตาร์วอร์ส” อย่างสุดอลังการณ์ ด้วยรายได้ของสุดสัปดาห์แรกในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นรองเพียง “สตาร์วอร์ส เอพพิโซด 7: อุบัติการณ์แห่งพลัง” สำหรับการเปิดตัวในเดือนธันวาคม

โรกวัน ไม่เพียงแต่ สร้างประวัติการณ์ โดยเป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์สตาร์วอร์ส ไม่ได้ดำเนินเนื้อเรื่องของอัศวินเจได แต่ยังคงเป็นครั้งแรก ที่ภาพยนตร์สตาร์วอร์ส ถ่ายทำด้วยดิจิตอล หลังจากที่ดิสนีย์ ได้ซื้อลิขสิทธิของสตาร์วอร์สมาจาก จอร์จ ลูคัส

ทั้งนี้ สตาร์วอร์ส เอพพิโซด 7 จากเมื่อปีที่แล้ว เป็นการถ่ายทำด้วยฟิล์ม เพราะ เจ.เจ. แอบรัมส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ได้มีทัศนคติที่ว่า ดิจิตอล ไม่สามารถถ่ายทำภาพยนตร์ที่มีทั้งมิติและความสวยงาม ได้เทียบเท่ากับฟิล์ม

Read More

Industry 4.0 โอกาสหรือความเหลื่อมล้ำ?

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปขึ้นเวทีเสวนา “The Digital Economy: Driving Industry 4.0” ในงาน ITU Telecom World 2016 ซึ่งเป็นงานระดับโลก ที่ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในปีนี้ ทั้งนี้ ITU หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานพิเศษภายใต้สหประชาชาติ โดยที่งาน ITU Telecom World ที่จัดที่ประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ผู้ทรงเป็นผู้เปิดงาน และยังได้รับส่วนร่วมจากผู้นำของประเทศต่างๆ จากทั่วโลก

Industry 4.0 เป็นการต่อยอด ICT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จาก Digital Economy สู่ระบบอุตสาหกรรม ทั้งนี้ มีลักษณะจำเพาะ ได้แก่ การผลิตสินค้าที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค ด้วยต้นทุนที่ตำ และคุณภาพที่สูง ด้วยระบบอัตโนมัติ สมองกล และหุ่นยนต์ ที่ทำงานควบคู่ไปกับ IoT และ Sensor ต่างๆ

Read More

Consumer Drone: S-Curve ใหม่ที่สมควรติดตาม

S-Curve คือชะตากรรมที่ยากจะหลีกเลี่ยงในธุรกิจเทคโนโลยี

ทุกเทคโนโลยี มีจุดเริ่มต้นที่เหมือนกัน นั่นก็คือ R&D ซึ่งนับเป็นระยะแรกเริ่มของ S-Curve

จากนั้นจึงเป็นระยะขาขึ้น เมื่อเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จในการบุกเบิกตลาด ผ่านจุดคุ้มทุนจาก R&D ในระยะนี้ ทุกนวัตกรรมใหม่ล้วนมีความหมายและสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับตลาดและแวดวงของเทคโนโลยี ในระยะนี้ขนาดของตลาดกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีผู้เล่นรายใหม่ปรากฎตัวขึ้นอย่างมากมาย

Read More