Groupon vs. Facebook: Social Network vs. Social Commerce
/เป็นวีรกรรมที่ยากจะลอกเลียนแบบของ Mark Zuckerberg ผู้เริ่มต้น Facebook ก่อนวัย 20 ปี และพัฒนาเป็นธุรกิจ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเวลา 7 ปี (2004-2011) จนถูกจำลองเป็นภาพยนตร์ The Social Network ที่เข้าชิง Oscar และถูกคัดเลือกเป็น Person of The Year 2010 ของ Time Magazine ปัจจุบัน Facebook มีมูลค่าซื้อขายที่เกือบเท่างบประมาณของรัฐบาลไทย และสูงกว่า Market Cap ของบริษัททั้งหมดในประเทศ เป็นความน่าภูมิใจของ Entrepreneur รุ่นเยาว์ด้วยวัยเพียง 26 ปี สถิติในวันนี้ของ Mark Zuckerberg กำลังจะถูกทำลายโดย Andrew Mason ซึ่งเป็น Entrepreneur รุ่นใหญ่ (ด้วยวัยเกือบ 40 ปี) ผู้บุกเบิกนวัตกรรม Social Commerce ที่เรียกว่า Groupon โดยได้พัฒนาจากทุนส่วนตัว 1 ล้านดอลลาร์มาเป็นธุรกิจ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 2 ปี (ปลาย 2008-2011) ในขณะที่ 2 ปีแรกของ Facebook ยังมีมูลค่าไม่ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ Groupon ยังเป็นธุรกิจที่มีรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์ได้รวดเร็วที่สุดในโลก และได้ปฏิเสธการทาบทามเพื่อขอซื้อโดย Google ที่มูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์
เร็วๆ นี้ Facebook ยังได้เปิดตัว Facebook Deals เพื่อร่วมแข่งขันในธุรกิจ Social Commerce โดยต่อยอดจากฐานธุรกิจ Social Network ที่ไร้คู่แข่งในปัจจุบัน
ความแตกต่างของ Social Network และ Social Commerce เกิดจากโครงสร้างมูลค่าพื้นฐาน (Value Structure) สำหรับ Social Network นั้น มูลค่าพื้นฐานเกิดจากจำนวนผู้ใช้งาน และความเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้ ซึ่งได้ถูกบัญญัติเป็น Network Effect ตามหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค Robert Metcalfe ระบุมูลค่าของ Network Effect เป็น N x (N -1) โดย N เป็นจำนวนของผู้ใช้งาน ดังนั้นมูลค่าพื้นฐานจึงเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณจากจำนวนของผู้ใช้ ที่มีการผลิต Content ในรูปแบบของ ตัวหนังสือ ภาพ และ วีดีโอ และมีปฏิสัมพันธ์ผ่านความเชื่อมต่อระหว่างกัน
สำหรับ Social Commerce มูลค่าพื้นฐานเกิดจากจำนวนของของพ่อค้าที่นำเสนอ Deals ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดประโยชน์ได้ ต่อเมื่ออยู่ในท้องถ่ิน (Local) เดียวกับผู้ใช้ มูลค่าพื้นฐานจึงเป็นจำนวนของ Deals ที่อยู่ใน Local เดียวกัน (Local Deals)
ความได้เปรียบของ Facebook เกิดจากความเป็น "The" Social Network หรือผู้ผูกขาดรายเดียวของสังคมออนไลน์ระดับโลก จึงเป็น Switching Barriers ของผู้ใช้ที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ แต่สำหรับ Groupon กลับไม่มีข้อได้เปรียบดังกล่าว Switching Barriers จำกัดอยู่เพียง Local Deals และไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้อื่นๆ ผู้ให้บริการ Social Commerce ที่สามารถหา Local Deals ที่ดีกว่า ย่อมสามารถดึงดูดผู้ใช้ไปจาก Groupon ได้ ในขณะที่เกือบเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะดึงดูดผู้ใช้ไปจาก Facebook เว้นแต่จะเป็น Social Network ที่มีฐานลูกค้าที่กว้างไกลกว่า
ความเป็น Local ของ Social Commerce ทำให้เกิด Market Fragmentation ในท้องถิ่นต่างๆ แม้ Groupon จะเป็นผู้นำ แต่ย่อมไม่สามารถเข้าถึงทุกท้องที่อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศจีนได้มี Social Commerce ที่คล้ายคลึง Groupon แต่ครองความเป็นหนึ่งในมณฑลของตัวเอง แม้กระทั่งในประเทศไทย ได้มีผู้เล่นระดับท้องถิ่นเช่น NCoupon, Sanook! Coupon, Ensogo ฯลฯ โดย Groupon ยังไม่สามารถสร้างฐานที่มั่นคงในประเทศ แม้กระทั่ง Branding ของ Groupon ยังอาจไม่คุ้นหูคนไทย และน้อยคนจะรู้ว่า Social Commerce ท้องถิ่นนี้มีรูปแบบมาจาก Groupon
Andrew Mason ผู้ก่อตั้ง ยังได้กล่าวถึงความเป็นจุดอ่อนที่ง่ายต่อการถูกลอกเลียนแบบของ Groupon นอกเหนือจาก Social Commerce ระดับ Local เหล่านี้ ยังต่อเผชิญกับ Facebook Deals ซึ่งอยู่บนฐานลูกค้ามหาศาลของ Facebook
ถึงจะล้มสถิติของ Facebook ได้ ยังต้องพิสูจน์ว่า Groupon จะเร็วอย่างเดียว หรือจะยั่งยืนด้วย อย่างไรก็ดี เป็นข้อดีสำหรับ Entrepreneur ของไทย ที่ยังมีโอกาสที่จะบุกเบิกและครองตลาดท้องถิ่นในด้าน Social Commerce ในขณะที่ Social Network คงต้องยกให้กับ Facebook
Published in Krungthepturakij on March 22, 2011