iPad 2 ยุคใหม่ของสื่อตีพิมพ์ไทย

ปีนี้เป็นปีสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจข้อมูลข่าวสารของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้บริการ Content ผ่าน Device รูปแบบใหม่ อย่างเช่น iPad ที่เปิดตัวมาไม่ถึงหนึ่งปี และเริ่มมีฟังชั่นภาษาไทยไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ถึงเวลานี้ ธุรกิจ Content ที่มาจากสื่อตีพิมพ์ เช่น แมกกาซีน และกระทั่งหนังสือพิมพ์ ได้แข่งกันผลิต Content เพื่อนำเสนอบน iPad ในรูปแบบของ App และได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม จนเป็น App ยอดนิยมที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ ซึ่งเทียบเท่าและเหนือกว่า App ยอดนิยม ประเภท เกมส์, Social Networks ฯลฯ ทั้งนี้ Content ส่วนมากเจาะกลุ่มสตรี และ Life Style ทั่วไป บ่งชี้ถึงอิทธิผลของธุรกิจ Content บน iPad ที่มีความสำเร็จเกินความเป็น Niche ในระดับเบื้องต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา Apple ได้เปิดตัว iPad 2 ท่ามกลางความ แตกตื่น ตกใจ จากการปรากฎตัวอย่างกระทันหันของ Steve Jobs ขณะที่กำลังลาพักจากการเจ็บป่วย iPad 2 ถือเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของ iPad รุ่นแรก อย่างไม่มีข้อผิดหวัง นอกเหนือจาก Features ใหม่ๆ ที่เห็นได้ชัด เช่น รูปลักษณ์ที่บางลง 33%, กล้องถ่ายรูปทั้งด้านหน้าและหลัง และฝาปิดที่เรียกว่า Smart Cover ยังมี Processor ที่เร็วขึ้น และการ Update ใหม่ของ Software ต่างๆ อย่างอีกมากมาย

ความสำคัญของ iPad 2 คือการสานต่อจากยอดขายเดิมที่ประสบความสำเร็จ ของ iPad รุ่นแรก ซึ่งมียอดขายในประเทศไทยที่อาจเทียบเท่าหรือไม่น้อยกว่า iPhone และอาจจะมีจำนวนเฉียดล้านในอีกหลายเดือนข้างหน้า เว้นแต่ฟังชั่นของการเป็นโทรศัพท์ iPad มีความสามารถเฉพาะตัว และความสะดวกสบายของการใช้งาน ที่ไม่แพ้ iPhone ในสหรัฐ iPad ได้มีสัดส่วนการเข้าอินเตอร์เน็ต ที่สูงกว่า 5% เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ทุกชนิด ซึ่งรวม คอมพิวเตอร์ด้วย และยังสูงกว่า iPhone ซึ่งได้เปิดตัวมากว่า 2 ปีก่อนหน้า

รูปแบบของ iPad ทำให้การใช้งานแตกต่างโดยเกือบสิ้นเชิงกับ iPhone ในขณะที่ App ยอดนิยมบน iPhone มักเป็นประเภท เกมส์ หรือ Social Networks iPad ได้กำเนิด Category ใหม่ คือ Online Magazine ในรูปแบบของ App ปัจจุบัน แมกกาซีนของเครืออมรินทร์ เช่น แพรว, สุดสัปดาห์, บ้านและสวน ฯลฯ ของเครือ GM เช่น GM, Home & Decor, Mother & Care ฯลฯ และเครืออื่นๆ เช่น MAXIM, ดิฉัน, IMAGE, Digital Camera, T3 Thailand, OK! ฯลฯ ล้วนจัดเป็น App ยอดนิยมที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ Magazine เหล่านี้ หาใช่ Content ระดับ Niche เฉพาะกลุ่ม เช่น เทคโนโลยี หรือ กลุ่มผู้สนใจ Gadget ไม่ กลับแต่เป็น Content ที่เจาะกลุ่มสตรี และ Life Style ทั่วไป ซึ่งบ่งชี้ถึงธุรกิจ Content บน iPad ที่ก้าวเกินการเป็น Niche ไปแล้ว ทั้งๆที่ iPad ได้เริ่มมีฟังชั่นภาษาไทยไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ อาจเป็นเรื่องที่ดี สำหรับธุรกิจ Content ไทย ที่มีอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง ทั้งยังลดขั้นตอนของ Logistics ในการนำเสนอ Content สู่ปลายทาง ซึ่งประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา และเพิ่มรูปแบบจนถึงลูกเล่นในการบริโภคข่าวสารข้อมูลสำหรับลูกค้า

อย่างไรก็ดี ได้เป็นประเด็นข้อถกเถียง เมื่อ Apple ประกาศ คิดค่านายหน้า 30% ตั้งแต่การซื้อขาย App จนถึงการซื้อขาย Content ใน App นั้นๆ ซึ่งรวมถึงการซื้อขาย Magazine แต่ละฉบับ ที่ต้องมีส่วนแบ่งให้ Apple โดยจะบังคับมิให้มีการซื้อขายผ่านวิธีอื่นนอกเหนือจากระบบของ Apple นี่อาจเป็นข้อดีสำหรับผู้บริโภคในระยะสั้น เพราะเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยในการซื้อขาย Content ผ่านระบบที่ใช้ง่ายและมีมาตรฐาน ของ Apple แต่มีข้อโต้เถียงว่า อาจเป็นข้อสุ่มเสี่ยงสำหรับธุรกิจในระยะยาว เพราะ Apple อาจเกิดเป็นผู้ผูกขาดรายใหญ่ของตลาดนี้

อีกข้อสังเกตุ คือปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการ 3G อย่างทั่วประเทศ อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อครั้ง 3G มีให้บริการอย่างทั่วถึง รูปแบบของธุรกิจ Content ที่ประสบความสำเร็จอาจเปลี่ยนไป อาจมีวิวัฒนาการณ์ของ เสียง วีดีโอ หรือความเป็นอินเตอร์แอคทีฟมากขึ้น ในรูปแบบที่ไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ แต่อาจเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่อไปในอนาคต

ความรวดเร็วของธุรกิจข้อมูลข่าวสาร อย่างเช่นเครือแมกกาซีนต่างๆ ของประเทศไทย ในการเร่งให้บริการบน iPad และการตอบรับของผู้บริโภคที่วัดได้ด้วยการเป็น App ยอดนิยม เป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงยุคใหม่ของส่ิงตีพิมพ์ไทย และความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะตามมาในระยะยาว แต่ถึงกระนั้น ควรเป็นข้อสังเกตุว่า เครือแมกกาซีนไทยจะมีความพร้อมอย่างไร หาก Apple เกิดเป็นผู้ผูกขาดรายใหม่ของธุรกิจนี้ และ 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย จะพลิกผันรูปแบบของธุรกิจไปในทิศทางใด

Published in Transport Journal in March 2011