ความลับของรัฐบาล vs ความลับของประชาชน

หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอข่าวคราวของ "จอมแฉ" เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ที่กำลังหลบหนีอยู่ภายในสนามบินของรัสเซีย และกำลังพยายามที่จะขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศต่างๆ เรื่องราวของสโนว์เดน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ สำหรับคนไทยหลายๆ คน และได้ถูกเปรียบเปรยกับตัวละครของ ทอม แฮงค์ ในภาพยนตร์เรื่อง เดอะเทอร์มินอล ที่ได้อาศัยอยู่ภายในสนามบินของ นิวยอร์ค เป็นเวลาหลายเดือน เป็นที่น่าเสียดาย ที่เรื่องราวของสโนว์เดน กลับได้รับความสนใจ แต่เพียงการที่เขากำลังหลบหนีอยู่ภายในสนามบิน แต่เรื่องราวที่แท้จริง ว่าเพราะเหตุใดเขาถึงต้องหลบหนี นอกเหนือจากสาเหตุที่ว่า เขาได้เปิดโปงความลับอะไรบางอย่างของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจไม่ได้รับความสนใจเลย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องไม่ไกลตัว สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

"จอมแฉ" เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ได้แฉความลับของรัฐบาลสหรัฐ ว่ามีโครงการปริซึม สำหรับดักฟังความลับของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ดังได้กล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้ สโนว์เดน ได้พาดพิงถึงบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ที่อาจให้ความร่วมมือกับโครงการปริซึม ในการดักฟังความลับของประชาชน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค บริษัทเหล่านี้ได้ออกมาเปิดเผยถึงจำนวนครั้งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ขอข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ใช้งาน ในรอบ 6 เดือน ที่ผ่านมา โดย Facebook เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ขอข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ใช้งาน 19,000 ราย ในขณะที่ Microsoft เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ขอข้อมูลความลับของผู้ใช้งาน 32,000 ราย และ Apple เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ขอข้อมูลความลับของผู้ใช้งาน 10,000 ราย ล่าสุด Yahoo ได้เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ขอข้อมูลความลับของผู้ใช้งาน 13,000 ครั้ง

Read More

การล่วงรู้ความลับส่วนบุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต

เมื่อต้นเดือนนี้ ได้มีเหตุการณ์อื้อฉาว (Scandal) ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับส่วนบุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อได้มีการเปิดโปงโครงการ PRISM ของรัฐบาลสหรัฐ โดยอ้างว่าเป็นโครงการเพื่อการดักฟัง ดักอ่าน สืบค้น และทำ Analytics กับข้อมูลที่อาจเป็นความลับส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และมีการพาดพิงถึงบริษัทชั้นนำในโลกอินเทอร์เน็ต เช่น Microsoft , Yahoo!, Google, Facebook, YouTube, Apple ฯลฯ ที่อาจให้ความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐ ผู้ที่เปิดโปงโครงการ PRISM ซึ่งเคยเป็นสมาชิกของหน่วยสืบราชการลับ (CIA) และในขณะนี้ได้ถูกแจ้งจับในข้อหาเปิดเผยความลับของราชการ ยังได้อ้างอิงว่า โครงการ PRISM จะทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถดักฟัง ดังอ่าน สืบค้น และทำ Analytics กับการใช้โทรศัพท์ ส่งอีเมล์ ส่ง SMS โพสข้อความต่างๆ สถานที่ของผู้ใช้งาน (Location) ฯลฯ ผ่านบริษัทชั้นนำที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น ความลับที่รัฐบาลสหรัฐสามารถล่วงรู้ได้ กลับมิใช่เพียงความลับของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นชาวอเมริกันเท่านั้น แต่กลับครอบคลุมถึงความลับของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 50% ของโลก ซึ่งอาจรวมถึงผู้ใช้งานในประเทศไทยด้วย เพราะเป็นการใช้งานผ่านบริษัทชั้นนำเหล่านี้ ที่เป็นบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation) และมีการให้บริการที่คล้ายกับการผูกขาดในระดับโลก

เรื่องอื้อฉาวของโครงการ PRISM ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความหวาดกลัวของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งบริษัทชั้นนำที่ถูกพาดพิงต้องออกมาชี้แจงอย่างมีข้อกังขา แต่ยังทำให้เกิดการถกเถียงในวงกว้าง ถึงความเหมาะสมของรัฐบาลสหรัฐในการดักฟัง ดักอ่าน สืบค้น และทำ Analytics กับข้อมูลที่อาจเป็นความลับส่วนบุคคล และความเหมาะสมของบริษัทชั้นนำที่อาจให้ความร่วมมือกับรัฐบาล

Read More

ลูกค้าเป็นของใคร ในยุค 3G

ในเกือบทุกธุรกิจ ผู้ที่อยู่ใกล้ลูกค้า ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ ในธุรกิจเทคโนโลยี เช่น 3G การเข้าถึงลูกค้า มีความสลับซับซ้อน มีผู้ผลิต มีผู้ให้บริการ ที่ต่างบทบาท ในแต่ละชั้น (Layer) ของการให้บริการ บทบาทหลักของ 3G คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Data) ความเร็วสูง อย่างไร้สาย สำหรับลูกค้าคนหนึ่ง การใช้งาน 3G ย่อมต้องผ่านบริการของ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์ในการเข้าถึง (Device) และผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสาร (Application & Content)

ที่ผ่านมา มีการแข่งขัน เพื่อแย่งชิ่งความใกล้ชิดกลับลูกค้า หรือกระทั่ง การเป็นเจ้าของลูกค้า ซึ่งผู้ให้บริการและผู้ผลิต ต่างมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบที่แตกต่างกัน

ความได้เปรียบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม คือการที่มีข้อมูลของลูกค้าอย่างเป็นทางการ ระบบจ่ายเงิน ช่องทางขายปลีก และกระทั่งหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งปัจจุบัน ยังคงเป็นเลขประจำตัว ที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการติดต่อสื่อสาร ทั้งหมดนี้ เป็นความได้เปรียบของโครงสร้างพื้นฐานทางวัตถุ (Physical Infrastructure) ที่รวมไปถึงการให้บริการโครงข่าย (Network) อีกด้วย

Read More