โทรทัศน์ ศูนย์รวมความบันเทิงในยุคดิจิทัล

การหลอมรวมของเทคโนโลยี (Technology Convergence) กำลังเปลี่ยนบทบาทของโทรทัศน์ เข้าสู่การเป็นศูนย์รวมความบันเทิงภายในบ้าน โดยอาศัยนวัตกรรมของกล่องรับสัญญาณ (Set-Top Box) ที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลักของการรับชมสัญญาณวีดีโอ ในระบบอนาล็อกหรือดิจิทัล ไม่ว่าจะผ่านคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบดาวเทียม สายเคเบิล หรือกระทั่งอินเทอร์เน็ต ยังได้พัฒนาสู่การรับชมความบันเทิงในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่รวมถึงการรับชมวีดีโออย่างออนดีมานด์ เพลง วีดีโอเกมส์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยอาจรวมไปถึงการใช้งาน Set-Top Box เป็นศูนย์รวมการควบคุมระบบต่างๆ ภายในบ้าน เช่น กล้องวงจรปิด แอร์คอนดิชั่นเนอร์ ระบบไฟ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีวิวัฒนาการของสมาร์ททีวี (Smart TV) ที่เปรียบเสมือนเป็นโทรทัศน์ที่มาพร้อมกับ Set-Top Box ซ่อนอยู่ข้างใน ในปัจจุบัน Set-Top Box ที่มีอยู่แพร่หลายในประเทศไทย ย่อมหนีไม่พ้น Set-Top Box สำหรับรับสัญญาณวีดีโอผ่านคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ซึ่งต้องรวมถึงดิจิทัลทีวี ที่กำลังจะมีการประมูลในอีกไม่ช้านี้ และ Set-Top Box สำหรับรับสัญญาณวีดีโอผ่านระบบดาวเทียมและสายเคเบิล อย่างไรก็ดี Set-Top Box เหล่านี้ ที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย เป็น Set-Top Box สำหรับรับชมวีดีโอแต่อย่างเดียว โดยขาดความเป็นอินเทอร์แอคทีฟ ที่จะได้มาจาก Set-Top Box ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยม ทั้ง Set-Top Box ที่เป็นกล่องจริงๆ และ Smart TV ที่เปรียบเสมือนมีกล่องอยู่ข้างใน

Set-Top Box สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่ได้รับความนิยมในระดับโลก ได้แก่ Apple TV และ Roku โดยมีราคาตลาดที่ราว 100 ดอลลาร์ และสามารถใช้บริการเพื่อรับชมวีดีโออย่างออนดีมานด์ เพลง วีดีโอเกมส์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับการรับชมวีดีโอออนดีมานด์ iTunes, Netflix, Amazon, Hulu ฯลฯ เป็นผู้ให้บริการเนื้อหาสำหรับ Set-Top Box เหล่านี้ และตามที่เคยได้กล่าวถึงในบทความก่อนหน้า มีผู้ใช้งานวีดีโอออนดีมานด์ของ Netflix ในสหรัฐมากยิ่งกว่าจำนวนผู้ใช้งานของ Comcast ที่เป็นผู้ให้บริการเคเบิลอันดับหนึ่ง

Read More

โทรทัศน์ vs Digital Marketing ในยุค Smart TV

Digital Marketing ตามนิยามสากล คือการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล ที่ใช้ช่องทางของอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Digital Marketing ได้ถูกวิวัฒนาการทั้งในด้านของรูปแบบและช่องทาง นับจากจุดแรกเริ่มในยุคของดอทคอมเมื่อปี 1997 ในด้านของรูปแบบนั้น จากเดิม Digital Marketing ได้รวมถึงการตลาดผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบของแบนเนอร์โฆษณา แต่ต่อมาในยุคหลังที่มีเสิร์ชเอนจินเช่น oogle ก็ได้รวมถึงการตลาดในรูปแบบของ SEO, AdWords ฯลฯ แต่ต่อมาอีกเช่นกัน ในยุคหลังที่มีโซเชียลมีเดียและโซเชียลเน็ตเวิร์ก ก็ได้รวมถึงรูปแบบของการตลาดที่อาศัยโซเชียลมีเดียและโซเชียลเน็ตเวิร์กเช่น Facebook, YouTube, Twitter ฯลฯ

ในด้านของช่องทางนั้น จากยุคแรกเริ่ม Digital Marketing ได้อาศัยคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงสื่อ แต่ต่อมาก็ได้รวมถึงโน้ตบุ๊ค ที่สามารถเข้าถึงสื่อจากนอกสถานที่ได้ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคหลังที่มี iPhone และ Android นั้น Smartphone กำลังก้าวเข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงสื่อดิจิทัล โดยอาจเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการทำ Digital Marketing ในอีกไม่ช้านี้ ความสำเร็จของ Smartphone เป็นผลมาจากการเข้าถึง 3G ที่มีพื้นที่ครอบคลุมสูงกว่าการให้บริการอินเทอร์เน็ตในรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะหลังการประมูลคลื่น 2,100 MHz ของ กสทช จึงทำให้ผู้ใช้ Smartphone สามารถเข้าถึงสื่อดิจิทัลได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ Smartphone ยังเป็นอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อดิจิทัลที่มีราคาถูก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Digital Divide) เช่นประเทศไทย

Read More

จุดเปลี่ยนของทีวี: ดิจิทัล vs อินเทอร์เน็ต

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม Eric Schmidt ผู้เป็น Executive Chairman ของ Google ได้ประกาศชัยชนะของการรับชมวีดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต ที่มีเหนือทีวี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คำประกาศดังกล่าว มีที่มาจากจำนวนผู้เข้าชม YouTube ที่มีมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ซึ่ง Google มีความเชื่อมั่นว่าจำนวนดังกล่าว มีโอกาสที่จะขยายตัวสู่ 6-7 พันล้านคน ซึ่งจะครอบคลุมถึงประชากรทั้งโลก ถึงแม้คำประกาศของ Eric Schmidt อาจจะยังมีข้อกังขา หากเปรียบเทียบกับตัวเลขที่เป็นมาตรวัดของทีวีในแง่มุมต่างๆ แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือการที่วีดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตได้มาเป็นแนวโน้มของอนาคตอันใกล้และไกล ในขณะที่ทีวีเป็นพฤติกรรมของปัจจุบันที่กำลังจะเป็นอดีตในไม่ช้านี้ ทีวีคือการเผยแพร่เนื้อหาในรูปแบบของวีดีโอหรือภาพเคลื่อนไหวที่สามารถเข้าถึงได้โดยประชากรเกือบทั้งประเทศ ปัจจุบันการเข้าถึงทีวีมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก คือ การรับสัญญาณผ่านเสาอากาศ ผ่านดาวเทียม และผ่านเคเบิล โดยทั่วไปการรับชมผ่านจานดาวเทียมและเคเบิลเป็นการรับชมแบบสมัครสมาชิก ในขณะที่การรับชมผ่านเสาอากาศคือทีวีที่สามารถรับชมได้โดยประชาชนทั่วไป (Free TV) Free TV เป็นรูปแบบของสื่อที่มีมูลค่าสูงสุดในประเทศไทย จากมูลค่ารวมของสื่อทั้งประเทศ ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต่อปี Free TV มีมูลค่ากว่า 60% จุดเปลี่ยนสู่ดิจิทัลทีวี คือการเปลี่ยนคลื่นความถี่ของ Free TV จากระบบแอนะล็อกในปัจจุบันมาเป็นดิจิทัล โดยจะเพิ่มจำนวนของช่อง เพิ่มเสถียรภาพของสัญญาณ และเพิ่มการบริการแบบความละเอียดสูง (HD)

Read More

Netflix: อนาคตของ Premium Content บนโลกออนไลน์

ในวันนี้ ความเชื่อที่ว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการบริโภคเฉพาะของฟรีเท่านั้น อาจเหลือความจริงเพียงแค่ครึ่งเดียว อย่างไรก็ดี ความเชื่อที่ว่านี้ ได้ถูกสะท้อนมาจากโมเดลทางธุรกิจ ที่มีอยู่แพร่หลายในปัจจุบันของโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการให้บริการเนื้อหา อย่างไม่เก็บค่าบริการ แต่แสวงหารายได้จากการโฆษณา จวบจนปัจจุบัน บริการในโลกออนไลน์ ที่มีการใช้งานสูงสุด เช่น Google, YouTube, Facebook ฯลฯ ล้วนมีโมเดลทางธุรกิจในรูปแบบนี้ทั้งสิ้น ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคแรกเริ่มของอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ยุคของ ดอทคอม ธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่ จึงมีรูปแบบที่คล้ายสื่อ โดยมีความแตกต่างจากสื่อดั้งเดิม ด้วยความเป็นดิจิตอล อินเทอร์แอคทีฟ หรือโซเชียลมีเดีย แต่ยังมีรายได้หลักจากการโฆษณาที่แลกกับการให้บริการเนื้อหาที่ไม่เก็บค่าบริการ User-Generated Content เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่สนับสนุนโมเดลทางธุรกิจดังกล่าว เนื้อหาส่วนใหญ่ ของบริการออนไลน์ เช่น Google, YouTube, Facebook ฯลฯ ล้วนเป็น User-Generated Content ผู้ให้บริการจึงไม่มีต้นทุนในการผลิต เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ กลับถูกสร้างและนำเสนอโดยผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการ Google, YouTube, Facebook ฯลฯ มีหน้าที่เพียงการให้บริการเทคโนโลยีสำหรับเผยแพร่เนื้อหาเท่านั้น หากนึกย้อนกลับไปสู่ยุคแรกเริ่มของอินเทอร์เน็ต เนื้อหาที่มีการแลกเปลี่ยนสูงสุดคือ เพลงและวีดีโอที่มีลิขสิทธิ์ในรูปแบบของ MP3 ฯลฯ ซึ่งเป็น Premium Content แต่เป็นการแลกเปลี่ยนอย่างผิดกฎหมาย ปัจจุบัน พัฒนาการของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ Smart Phone และโซเชียลมีเดีย เอื้อต่อการสร้างและเผยแพร่ User-Generated Content จึงทำให้ User-Generated Content เป็นเนื้อหาที่มีความนิยม และมาทดแทน Premium Content จากยุคก่อนหน้า

Read More

รถยนต์ติด 3G

สำหรับปีนี้ Consumer Electronics Show 2013 (CES-2013) ที่พึ่งจะผ่านพ้นไป ได้จัดขึ้นที่ Las Vegas, USA และมีการนำเสนอเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับยุคต่อไป ที่จะสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ (Smart Device) กล่าวคือ รถยนต์ หลอดไฟ เตาอบ ตู้ซักผ้า ตู้เย็น ฯลฯ สำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น CES เป็นหนึ่งในนิทรรศการที่มีความสำคัญสูงสุด มีการจัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง ทุกๆ ปี จะต้องมีการเปิดตัวสินค้าที่เป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยี สำหรับปีนี้ หนึ่งในจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือการพัฒนาของอุปกรณ์จำพวก Smart Device ที่เพิ่มความหลากหลายจากเดิมที่มีเพียง Smartphone, Tablet, Smart TV, Smart Camera (Samsung Galaxy Camera, Nikon's Coolpix S800c) ฯลฯ Smart Device คืออุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ และถือมากำเนิดมาจากทฤษฎีของคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทุกหนแห่ง (Ubiquitous Computing) ทั้งนี้ Smart Device เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย หลังจากยุคของ iPhone, iPad และ Android ซึ่งเป็นอุปกรณ์จำพวก Smartphone, Tablet และได้วิวัฒนาการเข้าสู่ Smart TV, Smart Camera ในเวลาต่อมา Smart Device มีการเติบโตควบคู่กับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยมีเทคโนโลยีไร้สายเช่น 3G และ WiFi เป็นปัจจัยสำคัญ ปัจจุบัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ มีจำนวนของ Smart Devices มากกว่าจำนวนประชากร โดยคิดเป็น 1.35 เท่า ซึ่งแปลว่า สำหรับชาวอเมริกันหนึ่งคน จะมี Smart Device 1.35 ชิ้น

Read More