การรับผิดในยุคดิจิทัล

ในสังคมไทย มักจะมีการเรียกร้อง ให้ธุรกิจดิจิทัล ต้องมามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการกระทำผิดโดยผู้บริโภค

ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะในต่างประเทศ มีการกำหนดขอบเขตการรับผิดของธุรกิจอย่างชัดเจน ต่อการกระทำที่เกิดขึ้นโดยผู้บริโภคของธุรกิจ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฯ ๒๕๕๐ มาตรา ๑๕ ได้กำหนดให้ธุรกิจดิจิทัล เช่น เฟสบุ๊ค และ ยูทูป ต้องถูกระวางโทษเช่นเดียวกับผู้บริโภคที่กระทำความผิดผ่านบริการของตน

เช่นว่า เมื่อผู้ใช้งาน ได้นำเสนอวีดีโอที่ผิดกฎหมาย ผ่านระบบของยูทูป บริษัทยูทูป ก็ต้องถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกับผู้ใช้งานที่กระทำผิด

Read More

สตาร์ทอัพ vs. พ.ร.บ. คอมฯ

ธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน มีจำนวนมากที่อยู่ภายใต้รูปแบบของ Sharing Economy นั่นก็คือ การให้บริการ ที่ เว็บไซต์ หรือ แอพ เช่น Uber, Airbnb, GrabTaxi ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลาง โบรกเกอร์ หรือ ตลาด สำหรับผู้ให้บริการ ที่ความจริงแล้ว ก็คือผู้ใช้งานที่ปลายทาง ที่นำทรัพยากรที่ตนมีอยู่ มายกระดับเพื่อให้บริการผ่าน เว็บไซต์ หรือ แอพ เช่นรถยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซค์ ในกรณีของ Uber หรือ GrabTaxi  และที่พักในกรณีของ Airbnb

Sharing Economy นั้น แท้ที่จริง ก็สืบสันดานมาจากรูปแบบของ Peer-to-Peer ซึ่งมีธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จประสบความสำเร็จจากยุคก่อนหน้านี้ ด้วยการให้บริการที่มาประยุกต์เป็น Social Networks หรือ Social Media เช่น Facebook, YouTube ฯลฯ

Read More

กฎหมายดิจิทัล ความหวังสู่การปฏิรูป

การปฏิรูปดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำลังเข้มข้นขึ้นในทุกช่วงขณะ ภายหลังจาก Start Up Thailand 2016 และ Digital Thailand 2016 สัปดาห์ที่ผ่านมา สนช. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ 122 คะแนนเห็นชอบการตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างเป็นทางการ

สัปดาห์ที่ผ่านมาอีกเช่นกัน สมาคมโทรคมคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดเสวนา “กฎหมายดิจิทัล ความหวังสู่การปฏิรูป” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT เป็นประธานเปิดงานฯ ร่วมกับรองเลขาธิการ กสทช. พลอากาศตรี ธนพันธ์ หร่ายเจริญ

ซึ่งได้หยิบยก กฎหมายดิจิทัล ที่สำคัญ 4 ฉบับได้แก่

Read More

กฎหมายเดิมๆ อุปสรรคของธุรกิจสตาร์ทอัพ

ไม่ควรพลาด สัปดาห์นี้ งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงไอซีที ซึ่งเป็นงานแสดงพลังและจุดยืนของคนไทย เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลระดับสากล และอีกนัยหนึ่ง เป็นการรับช่วงต่ออย่างไม่เป็นทางการจาก งานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 2016 ที่จัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการแสดงวิสัยทัศน์จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ประเทศไทยต้องสร้างนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งก็คือ สตาร์ทอัพ”

จากนิยามของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการค้นหา New Engines of Growth ชุดใหม่ ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ต้องหวนกลับมาคิด ว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกแล้ว ประเทศนี้จะสนับสนุน New Engines of Growth หรือจะปกป้องธุรกิจจากยุคเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ กำลังสร้าง นวัตกรรมปลาเร็วล้มปลาใหญ่ หรือ Disruptive Innovation ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่จะต้องนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจจากยุคเดิม ผู้บริหารประเทศ จะติดสินใจอย่างไร

Read More

พ.ร.บ. ดิจิตอล 3 ฉบับ

โค้งสุดท้าย สำหรับ พ.ร.บ. ดิจิตอล 3 ฉบับ ที่พึ่งผ่านการเห็นชอบโดย ครม. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อันได้แก่ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลฯ ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ ร่างพ.ร.บ.กสทช. ต้องถือเป็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นเร้าใจและสมควรติดตาม เพราะเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านกฎระเบียบและโครงสร้างของการกำกับดูแลรวมทั้งการสนับสนุน การพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในระดับประเทศ

ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลฯ ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ซึ่งเป็นการกำหนดให้มีแผนระดับชาติ ในการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีคณะกรรมการระดับชาติ ที่มีนายกเป็นประธาน และมีกรรมการที่ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกคัดเลือก

วาระที่น่าสนใจ คือการจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่มาจาก 25% ของรายได้ของประเทศจากการจัดสรรคลื่นความถี่ จึงเป็นที่น่าติดตามว่า จะมีผลย้อนหลังไปถึงรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาหรือไม่ เพราะหากมี ย่อมหมายถึงเงินก้นถุงของกองทุน ที่เร่ิมต้นด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

Read More