สตาร์ทอัพ vs. พ.ร.บ. คอมฯ

ธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน มีจำนวนมากที่อยู่ภายใต้รูปแบบของ Sharing Economy นั่นก็คือ การให้บริการ ที่ เว็บไซต์ หรือ แอพ เช่น Uber, Airbnb, GrabTaxi ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลาง โบรกเกอร์ หรือ ตลาด สำหรับผู้ให้บริการ ที่ความจริงแล้ว ก็คือผู้ใช้งานที่ปลายทาง ที่นำทรัพยากรที่ตนมีอยู่ มายกระดับเพื่อให้บริการผ่าน เว็บไซต์ หรือ แอพ เช่นรถยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซค์ ในกรณีของ Uber หรือ GrabTaxi  และที่พักในกรณีของ Airbnb

Sharing Economy นั้น แท้ที่จริง ก็สืบสันดานมาจากรูปแบบของ Peer-to-Peer ซึ่งมีธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จประสบความสำเร็จจากยุคก่อนหน้านี้ ด้วยการให้บริการที่มาประยุกต์เป็น Social Networks หรือ Social Media เช่น Facebook, YouTube ฯลฯ

Read More

กฎหมายเดิมๆ อุปสรรคของธุรกิจสตาร์ทอัพ

ไม่ควรพลาด สัปดาห์นี้ งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงไอซีที ซึ่งเป็นงานแสดงพลังและจุดยืนของคนไทย เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลระดับสากล และอีกนัยหนึ่ง เป็นการรับช่วงต่ออย่างไม่เป็นทางการจาก งานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 2016 ที่จัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการแสดงวิสัยทัศน์จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ประเทศไทยต้องสร้างนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งก็คือ สตาร์ทอัพ”

จากนิยามของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการค้นหา New Engines of Growth ชุดใหม่ ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ต้องหวนกลับมาคิด ว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกแล้ว ประเทศนี้จะสนับสนุน New Engines of Growth หรือจะปกป้องธุรกิจจากยุคเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ กำลังสร้าง นวัตกรรมปลาเร็วล้มปลาใหญ่ หรือ Disruptive Innovation ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่จะต้องนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจจากยุคเดิม ผู้บริหารประเทศ จะติดสินใจอย่างไร

Read More

สตาร์ทอัพ ไม่มีวันตาย

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เคยมีโอกาสสัมผัสกับ การเกิด การพัฒนา การรุ่งเรือง และกระทั่งการล่มสลาย ของธุรกิจสตาร์ทอัพ ผ่านหลายยุคหลายสมัย ซึ่งมีทั้งประสบการณ์ส่วนตัว ประสบการณ์ของเพื่อน ประสบการณ์ของอาจารย์ และประสบการณ์ของคนที่ได้ติดต่อทำธุรกิจด้วย 15 ปีก่อนหน้านี้ ขณะที่ผู้เขียน ยังคงเป็นนักศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นยุคหนึ่ง ที่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม นักศึกษา พนักงานบริษัท รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่มีความสามารถและความพยายาม ต่างก็ลาออก ไปทำธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่ก็มี นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน ที่ไม่ได้ลาออก แต่ก็ทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปพร้อมกับการเป็นนักศึกษาและอาจารย์ โดยทำข้อตกลงแบ่งหุ้นให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย

เมื่อสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ มหาวิทยาลัยที่ผมศึกษาอยู่ในขณะนั้น จึงได้รับเงินสดที่มีมูลค่ามหาศาล ที่นำมาสร้างตึก ห้องวิจัย จ้างอาจารย์ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาและทุนวิจัยอีกเป็นจำนวนมาก ที่ใช้อีกเป็นทศวรรษก็ไม่มีวันหมด

Read More

Kickstarter จากแนวคิดสู่นวัตกรรมด้วย Crowd Funding

แนวคิดที่ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตาม มักต้องการเงินทุน เพื่อที่จะขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ ในบางครั้ง การระดมทุน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ใช่ทุกคน ที่มีทุนทรัพย์เป็นของตัวเอง หรือมีเส้นสาย ที่จะสามารถเข้าถึงเครือข่ายของแหล่งทุนได้ ผู้ที่ริเริ่มธุรกิจหลายคน แม้กระทั่ง Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple ก็เคยผ่านขั้นตอนนี้มาก่อน ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ จนกระทั่ง Apple ได้เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก การระดมทุน ในรูปแบบที่มาตรฐานที่สุด คงหนีไม่พ้นการกู้ยืมจากธนาคาร แต่สำหรับธุรกิจนวัตกรรม กลับมีหลากหลายวิธีการ ที่เหมาะสมสำหรับรูปแบบของธุรกิจ Crowd Funding เป็นอีกวิธีหนึ่ง ของการระดมทุน ที่อาศัยช่องทางของอินเทอร์เน็ต ในการสร้างเครือข่ายของผู้สนับสนุน ผู้ที่สนใจโดยทั่วไป สามารถร่วมสนับสนุนแนวคิดได้โดยตรง ทั้งนี้ Kickstarter เป็นบริการออนไลน์ ที่อาศัยรูปแบบของ Crowd Funding เพื่อระดมทุนให้กับแนวคิดต่างๆ เพื่อให้เจ้าของแนวคิด นำสามารถไปสร้างเป็นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ

การใช้งาน Kickstarter เริ่มจากเจ้าของแนวคิดที่ทำการประชาสัมพันธ์ผ่าน Kickstarter โดยระบุวัตถุประสงค์ จำนวนเงินที่ต้องการ และสิ่งที่ผู้สนับสนุนจะได้รับ หากสนับสนุนในจำนวนเงินต่างๆ ซึ่งจะเป็นบริการหรือสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด แต่ไม่ใช้สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ในรูปแบบของการลงทุน สำหรับแนวคิดที่ได้รับการสนับสนุนในจำนวนเงินที่ต้องการ เจ้าของแนวคิดจะใช้เงินทุนดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนสู่การสร้างนวัตกรรม แต่สำหรับแนวคิดที่ไม่ได้รับจำนวนที่ต้องการ ก็จะไม่มีการเรียกเก็บเงินสนับสนุนทั้งสิ้น

Read More