Google TV เป้าหมายคือประเทศไทย

จริงอยู่ที่ Traditional Media เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์และนิตยสารเป็นอุตสาหกรรมตะวันตกดินในแนวโน้มของประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นสหรัฐ อังกฤษ ฯลฯ เราจึงได้เห็นสงครามข้ามยุคระหว่างสื่อสารมวลชนหรือผู้ปกป้องแห่งอดีต กับ Digital Media หรือผู้รุกรานแห่งอนาคต ทั้งนี้ ไม่ต่างกับอุตสาหกรรมรถม้า และอุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 วันนี้ เป็นการประวิงเวลา จนกว่าอนาคตจะมาถึง และได้ลืมอดีตอย่างบริบูรณ์ เช่นเดียวกับหลายอุตสาหกรรมจากสหัสวรรษที่แล้ว ที่ล้วนพินาศลง โดยเป็นผลกระทบจาก Disruptive Technology เช่น Internet และ Social Media

อย่างไรก็ดี Traditional Media ยังเหลือปราการด่านสุดท้ายที่ Digital ขาด คือ ฐานลูกค้า และขนาดของธุรกิจ

ปัจจุบันมีผู้ใช้ Internet 1.8 พันล้านคน ในขณะที่มีผู้ใช้โทรทัศน์กว่า 4 พันล้านคนทั่วโลก ความแตกต่างนี้ ยิ่งชัดเจนสำหรับประเทศไทย ซึ่งมีการพัฒนาแบบเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน และ ประเทศที่ GDP ใกล้เคียงกัน จากประชากรเกือบ 100% ที่เป็นผู้ใช้โทรทัศน์ เพียง 25% เป็นผู้ใช้ Internet โดยมีแนวโน้มสำคัญที่ประเทศไทยจะล้าหลังเพื่อนบ้านและชาวโลกต่อไปอีก

Read More

ปิดกั้นสื่อ Internet ไม่ง่ายแต่ทำได้

ในสังคมมนุษย์สงครามสื่อเป็นยุทธวิธี เพื่อให้ได้ชัยชนะโดยลดการสูญเสีย หรือพลิกสถานการณ์จากเสมอเป็นชนะ หรือแพ้เป็นเสมอ ปัจจุบันเป็นยุค Long Tail ด้วยเทคโนโลยี Internet มีสื่อน้อยใหญ่ผุดขึ้นทุกหนแห่ง การควบคุมสื่อไม่ง่ายเหมือนอดีต ถึงบุกยึดสถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุก็ไม่สามารถควบคุมสื่อทั้งประเทศได้ ด้วยแนวโน้มสากลสื่อยักษ์ใหญ่แห่งอดีตล้วนหมดอิทธิพลดั่งตะวันชิงพลบ

สื่อ Long Tail เป็นทั้งปัจจุบันและอนาคต ทำสงครามสื่อในยุค Internet ต้องเข้าใจกลยุทธ์และชั้นเชิงของสื่อออนไลน์

Internet เกิดขึ้น 50 ปีก่อนในนาม ARPANET เป็นเทคโนโลยีทางทหารที่ถูกทำลายไม่ได้จนกว่าอุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายจะหยุดทำงาน ปรัชญา คือ การกระจายระบบควบคุมไม่ให้มีจุดอ่อน หรือจุดตายไม่กี่จุดที่ทำลายได้ทั้งระบบ ผ่านมา 5 ทศวรรษได้ถูกต่อยอดเป็นการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลแบบ Social Media ปัจจุบันมีผู้ใช้ 2,000 ล้านคน ทุกคนเป็นสื่อได้หมด ถึงจะเหลือผู้ใช้คนสุดท้ายการเผยแพร่ข้อมูลก็ไม่หมดไป สื่อ 2,000 ล้านคน ควบคุมยากกว่าสื่อโบราณที่มีเพียงหลักร้อย ควบคุม Internet โดยบริบูรณ์ต้องควบคุมผู้ใช้ 2,000 ล้านคน

Read More

น้ำบ่อน้อย รายได้ของธุรกิจเว็บไทย

เคยสงสัยไหมว่าทำไมธุรกิจเว็บไทย ถึงไม่หวือหวาเหมือนในต่างประเทศ สำหรับธุรกิจเว็บแล้ว รายได้หลักคงหนีไม่พ้นโฆษณาออนไลน์ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ล้วนได้อานิสงส์จากแนวโน้มของตลาด ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ในสหรัฐ มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 90.1% และสัดส่วนโฆษณาออนไลน์ จะสูงถึง 15.2% ในปี 2013 และมีความเห็นพ้องกันว่า สื่อพื้นฐานอย่างโทรทัศน์ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายหลักอีกต่อไปแล้ว เพราะ Median อายุสูงถึง 50 ปี และจะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน ประเทศอังกฤษมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 76.4% แต่โฆษณาออนไลน์นั้นสูงถึง 23.5% เมื่อต้นปี 2009 โฆษณาออนไลน์ในอังกฤษมีรายได้สูงกว่าโทรทัศน์ และกลายเป็นสื่อที่มีรายได้โฆษณาสูงสุด

Read More

Cloud Computing โอกาสหรือความท้าทาย ที่อยู่ใกล้ตัว

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีทั้่งเรื่องราวที่ตื่นเต้น และระทึกใจ ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ที่ตื่นเต้น คือการจับมือระหว่าง True และ Microsoft เพื่อให้บริการ Cloud Computing ในประเทศไทย โดย Kevin Turner ผู้เป็น COO ของ Microsoft จาก Redmond, Washington ได้เดินทางมาร่วมแถลงข่าวเอง ส่วนที่ระทึกใจ คือการล้มอย่างไม่เป็นท่า ของ Amazon ผู้ให้บริการ Cloud Computing รายใหญ่อีกราย จนทำให้เว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Foursquare, Quora และ Reddit ต้องล้มตามกัน และให้บริการไม่ได้อยู่หลายวัน จนเกิดการตั้งคำถามที่ว่า Cloud Computing เป็นโอกาสที่แท้จริง หรือความท้าทาย และการพัฒนาสู่ยุคของ Cloud เป็นสิ่งที่ดีต่ออุตสาหกรรมหรือไม่ ในวงการ IT และ Telecom คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Cloud Computing ความจริงแล้ว Cloud Computing หมายถึง การให้บริการการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบโครงข่าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การประมวลผลขั้นพื้นฐาน คือการให้บริการ CPU, Storage และ Memory ซึ่งผู้ใช้ต้องมาประยุกต์เอง ก่อนจะถึงมือผู้บริโภค อีกขั้นตอนหนึ่ง จนถึงการให้บริการ Application สำเร็จรูป เพื่อถึงมือผู้บริโภคโดยตรง แต่ลักษณะจำเพาะของ Cloud Computing ทั้งหมด คือการที่ Hardware, Software และการ Admin ขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการทั่วไป จนถึงการ Upgrade อยู่ในสถานที่และเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้ใช้บริการ สามารถ Focus ที่ Function หลักของการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มที่

Read More

Social Media ประเทศไทย เป็นได้แค่ผู้ตาม

ระยะหลังมานี้ เห็นแต่ข่าวของ Twitter หรือ Facebook อยู่ทุกวัน กลายเป็นเทรนด์ของคนในสังคม ที่จะต้องมีการเขียนทวีต หรือพยายามผนวก Twitter และ Facebook เข้ากับชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้ตกแฟชั่น และสามารถเกาะกระแสการนิยมเห่อแบบไทยๆ ได้ เป็นข้อดีของวงการอินเทอร์เน็ตบ้านเรา เพราะไม่เคยมียุคใด ที่สื่อให้ความสนใจถึงเพียงนี้

อย่างไรก็ดีเคยสงสัยไหมว่าอาการเห่อเช่นนี้ เป็นเฉพาะในประเทศไทยหรือเปล่า หรือประเทศเพื่อนบ้าน ก็คลั่งกระแสเห่อของนอกตามเราด้วย

จากบล็อกที่เขียนเมื่อสองอาทิตย์ก่อน "กรณี Google ถอนตัวจากจีน" การที่บริการท้องถิ่นเอาชนะยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างเช่น Baidu ชนะ Google นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ Search Engine จะเห็นได้ว่า Social Network เจ้าถิ่น อาทิเช่น QQ ของจีน Cyworld ของเกาหลี Mixi ของญี่ปุ่น ล้วนแต่เป็นอันดับหนึ่งในประเทศของตน และสามารถปกป้องตลาดจากการรุกราน โดย Facebook ในกระแสโลกาภิวัตน์ไว้ได้

Read More

กรณี Google ถอนตัวจากจีน

ในวงการอินเทอร์เน็ต คงไม่มีข่าวไหนที่ "ดัง" ไปกว่าการถอนตัวของ Google จากประเทศจีน หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ สิทธิเสรีภาพของสื่อ หรือกระทั่งการจารกรรมข้อมูลของ Google โดยรัฐบาลจีน

แต่สาเหตุแท้จริงที่หลายคนอาจตกไป ก็คือ Google อาจไม่เคยประสบความสำเร็จทางธุรกิจในประเทศจีนเลย เมื่อเทียบกับเจ้าถิ่นอย่าง Baidu

Google เป็นบริษัทที่ List อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ การตัดสินใจที่แท้จริงย่อมมาจากเหตุผลทางธุรกิจ และไม่ควรเป็นการแสดงออกทางความคิด หรือการเมือง ซึ่งอาจถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อบิดเบือนความสนใจจากสาเหตุที่แท้จริง

Read More

Location-Based Services

หากจำกันได้ Time Magazine ปี 2006 เลือก "You" เป็นบุคคลแห่งปี โดยมี Screen Shot ของ YouTube ลงเต็มหน้าปก นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่สื่อ Mainstream อย่าง Time จะยอมรับว่า Social Media ได้มามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของทุกคนแล้ว ทั้งๆที่คนในวงการเขารู้กันก่อนหน้าเป็นปีๆ พอมายุคสมัยนี้ ปี 2010 ฝร่ังหัวแดงหัวดำใน Silicon Valley พูดกันหนาหูว่า เป็นยุคของ "You are here" ซึ่งหมายความว่า ความสำคัญไม่ได้อยู่เพียงที่ "คุณ" แต่อยู่ที่ว่า "คุณอยู่ตรงนี้ ณ สถานที่แห่งนี้" นี่คือจุดเริ่มต้นของการกลับมาของ Location-Based Services (LBS) หรือบริการที่ขึ้นอยู่ตำแหน่งสถานที่ของคุณ

Juniper Research บอกว่า ภายในปี 2014 ธุรกิจ LBS จะมีมูลค่า $12.7B อ่านดูแล้วอาจนึกขนาดไม่ออก ลองคิดดูว่าปัจจุบัน การซื้อขายเพลงใน US มีมูลค่าเพียง $9.2B ซึ่งหมายความว่า LBS กำลังจะมาเป็นธุรกิจที่ใหญ่มากๆ และจะใหญ่กว่าธุรกิจเพลงใน US แล้ว

Read More

เป้าหมายที่แท้จริงของ iPad ที่เด็กเข้าใจ แต่ผู้ใหญ่มองข้าม

Generation Gap เป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะกับ New Media ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตัดสินใจ และได้เรียนรู้ผ่านลูกๆหลานๆ หรือกระทั่งลูกน้องที่ทำงานอีกที คนต่างยุคต่างสมัยย่อมมีความคาดหวังและสิ่งที่เลือกจะมองเห็นที่ต่างกัน พื้นที่สื่อก็เช่นกันมักเป็นการนำเสนอข่าวสารโดยผู้ใหญ่ ซึ่งมีมุมมองตามยุคสมัยของตน สภาวะที่แท้จริงของ New Media น้อยครั้งจะได้รับความสนใจโดยสื่อพื้นฐานและผู้ใหญ่ทั่วไป จนกระทั่งกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่เคยเป็นเด็กได้เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา และคนรุ่นใหม่ได้แทนที่คนรุ่นเก่าซึ่งอาจถูกเบียดตกเก้าอี้ไปในที่สุด หากจะพูดว่า ธุรกิจบันเทิงเช่นเพลงและหนังกำลังลดความสำคัญลง ในขณะที่ธุรกิจเกมส์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีขนาดใหญ่กว่าสื่อบันเทิงพื้นฐานในหลายประเทศแล้ว คงจะเป็นเรื่องไกลตัวที่เห็นภาพได้ยากสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยเล่นเกมส์เลย ในขณะที่เด็กในยุคปัจจุบันเลือกที่จะเล่นเกมส์มากกว่าที่จะดูหนังฟังเพลงมาระยะหนึ่งแล้ว PricewaterhouseCoopers คาดคะเนว่าธุรกิจเกมส์ในปี 2012 จะมีมูลค่าเกือบ $70,000 ล้าน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธุรกิจเพลงถึง 5 เท่า เหลือเพียงแต่ธุรกิจหนังที่ยังพอไปไหว แต่ก็คงจะตกกระป๋องให้เกมส์ในที่สุด เกมส์ยักษ์ใหญ่อย่าง World of Warcraft ซึ่งคิดค่าสมาชิก $14.99 ต่อเดือน มีผู้เล่นเกือบ 12 ล้านคน ซึ่งมากกว่าประชากรประเทศเกือบครึ่งโลก ย้อนกลับมาดูประเทศไทย ลองเอารายได้บริษัทเกมส์กับเพลงมาเปรียบเทียบ อีกไม่นานก็ต้องตามแรงโน้มถ่วงของธุรกิจโลกไปในที่สุด

Read More