บทบาท กทช. : หาเงินเข้ารัฐ หรือเร่งพัฒนาโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน?

ขณะนี้ มีคำถามมากมายว่าบทบาทหน้าที่ที่แท้จริงของ กทช. ที่กฎหมายให้อำนาจกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คืออะไร ถูกต้องแล้วหรือ หาก กทช. มีหน้าที่ระดมหารายได้เข้ารัฐ หรือ หน้าที่ที่แท้จริงของ กทช. คือ จะต้องพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมให้กระจายไปทุกหนแห่ง เพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึง ผมเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้อ่านงานวิจัยที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการพิจารณาการจัดสรรใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G ของ กทช. และเห็นว่า จากบทสรุปงานวิจัยฉบับนี้ แสดงให้เห็นแนวทางที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักสากล ซึ่งจากการจัดการรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Focus Group) ของนิด้า เรื่องการ พิจารณาออกใบอนุญาต 3G ในประเด็นราคาใบอนุญาตที่เหมาะสมควรมีอัตราเท่าใด ซึ่งมีนักวิชาการอิสระจากภาคธุรกิจและภาคการศึกษาร่วมให้ความเห็น ได้แก่ นายอรุณ จิรชวาลา อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารนครหลวงไทย ผู้เคยสอบได้ที่หนึ่งของประเทศไทย ได้นำเสนอแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมว่า แนวทางของ กทช. ควรจะเป็นไปเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยให้มากที่สุด เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศไม่เสียโอกาสไปมากกว่านี้ และอยากให้มองเทคโนโลยี 3G เป็นสาธารณูปโภคที่เป็นประโยชน์ เช่นเดียวกับ ถนน ที่รัฐสร้างให้ฟรี ในกรณีนี้อาจเป็นไปได้ว่า กทช. ควรสนับสนุนด้านการเงินให้กับผู้ประกอบการ เพื่อเป็นเงินทุนใช้ในการสร้างเครือข่าย เพราะจะเป็นประโยชน์กับคนไทยทั้งชาติ แทนที่จะเป็นการระดมเงินทุนให้ได้ราคามากที่สุดจากผู้ประกอบการที่เข้าประมูล ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเป้าหมายที่ กทช. นำเสนอ ก็เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐ

Read More

3G กับความมั่นคงของชาติ ที่กำลังซ้ำรอย

เป็นประเด็นร้อนพอสมควร จากกระแสข่าวไทยคม ที่รัฐบาลเห็นว่า ต้องซื้อคืนจากต่างชาติ เหตุผลหลัก คือ เรื่องความมั่นคง ก่อนอื่นต้องศึกษาว่า เพราะอะไร และทำไม รัฐบาลจึงย้ำและยืนยันว่าต้องซื้อคืนจากต่างชาติ ในขณะที่ตามกฎกติกาของกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทั่งดูรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามที่ปรากฏในตลาดหลักทรัพย์ ระบุว่าไทยคมเป็นของคนไทย

คำถามที่น่าคิดก็คือ รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์ในการตีความอย่างไร จึงเห็นว่า ไทยคมเป็นของต่างชาติ หรือว่ากฎกติกาของกระทรวงพาณิชย์ และกฎหมายที่มีอยู่ ไม่สามารถตรวจสอบและไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองธุรกิจสำคัญจากการครอบงำของคนต่างชาติ

หากเป็นเช่นนั้นแล้วสิ่งที่รัฐบาลยืนยันว่าต้องซื้อคืนจากต่างชาติ จะกลายเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะในข้อเท็จจริง รัฐบาลต้องแก้กฎกติกาให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการครอบงำโดยต่างชาติอย่างที่เป็นอยู่ทำให้นึกถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือ กทช. กำลังพิจารณาจัดสรรใบอนุญาต 3G ซึ่งเป็นกิจการโทรคมนาคมเช่นเดียวกับไทยคม ที่จะมีผลครอบคลุมประชาชนผู้ใช้บริการทั้งประเทศเช่นกัน

Read More

ใบอนุญาต 3G ราคาแพง เป็นการผลักภาระสู่ประชาชน

อีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กำลังจะกลายเป็นวีรบุรุษ ผู้ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง ในการจัดสรรใบอนุญาต 3G และกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมถึง 80% ของประชากรภายในเวลา 4 ปี ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมีโอกาสเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ผ่านเทคโนโลยี 3G เนื่องจากในปัจจุบันนี้ มีเพียง 10% ของประชากรในประเทศที่มีโอกาสได้ใช้ Internet ความเร็วสูง และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านที่ก้าวสู่เทคโนโลยี 3G มาร่วมทศวรรตแล้ว ส่งผลให้ไทยต้องเสียโอกาสในการพัฒนาทางธุรกิจ การศึกษา และสังคม เทคโนโลยี 3G กำลังจะเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญของชาติ เช่นเดียวกับถนนหนทาง ที่สามารถเบิกความเจริญไปสู่ท้องที่ใหม่ และมีโอกาสต่อยอดทางนวัตกรรมอีกมากมาย เพราะเป็นแกนหลักของ Technology Convergence

อย่างไรก็ดีเทคโนโลยี 3G จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนจริงๆ ก็ต่อเมื่อสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึง ในเรื่องนี้นักวิชาการชาวต่างชาติ Prof. Craig Warren Smith อดีตศาสตรจารย์จาก Harvard University Kennedy School of Government ได้กล่าวไว้ว่า เราต้องพิจารณาให้ลึกลงไปว่าแม้การให้บริการจะขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 80% ของประชากรในประเทศ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีจำนวนประชากร 80% ของประเทศที่จะสามารถใช้ประโยชน์จาก 3G ได้อย่างแท้จริง ซึ่งด้วยลักษณะเทคโนโลยีของ 3G คือ DATA ความเร็วสูง ดังนั้นหากต้องการเพียงสนทนาระหว่างกันด้วยเสียง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ 3G และเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกระดับราคาค่าบริการของ 3G จะต้องไม่สูง เป็นธรรม คุ้มค่า และนำไปสู่บริการ DATA ที่เป็นประโยชน์ให้ประชากรหมู่มาก เนื่องจากหากมีค่าบริการที่สูงแล้วย่อมไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง ผลลัพธ์ก็ไม่แตกต่างกับกรณีปัจจุบันที่ Internet ความเร็วสูง เข้าถึงประชากรเพียง 10%

Read More

3G Social Media และความเป็นไทย

โอกาสของคนไทยจะมาถึงแล้วครับ ต้องขอขอบคุณ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ด้วยใบอนุญาต 3G ที่ภายใน 4 ปี 80% ของคนไทยจะมีโอกาสเข้าถึง Internet ความเร็วสูง หรือ Broadband ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากราว 2% และเป็นการขยายตัวถึง 40 เท่าในระยะเวลาอันสั้น คงไม่ต้องสงสัยว่า 4 ปีหลังจากนี้ Broadband จะกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถิติการใช้งาน Internet ที่ผ่านมา จะถูกบันทึกใหม่ด้วยการเข้าถึงโดย 80% ของคนในประเทศ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Internet จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยตลาดที่ขยายตัวถึง 40 เท่า การสู้รบและประวิงเวลาระหว่าง Digital กับ Traditional จะต้องมาจบลงด้วยความพ่ายแพ้โดยบริบูรณ์ของสื่อยุคเก่า ประเทศไทยจะก้าวต่อไปในโลก Digital อย่างที่เพื่อนบ้านได้เริ่มมากว่าทศวรรษแล้ว คนไทยจะมีโอกาสสร้างฝันให้เป็นจริงได้ภายใต้นโยบาย Creative Economy ของรัฐบาลปัจจุบัน เทคโนโลยีในการเข้าถึงได้พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างบริษัทชั้นนำ เช่น Apple และ Google ได้นำมาสู่ Disruptive Technology เช่น iPhone 4, iPad และ Android ที่ทำให้การใช้งาน Broadband ด้วยอุปกรณ์มือถือขนาดเล็กผ่านโครงข่าย 3G มีประสิทธิผลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ภายใต้ราคาที่เข้าถึงได้ และกำลังมียอดขายในประเทศอย่างถล่มทลาย จึงเป็น Convergence ของ Technology ที่ระบบโครงข่าย 3G ซึ่งกำลังจะมีขึ้นทั่วประเทศประจวบกับเทคโนโลยีในการเข้าถึง กำลังร่วมสร้างปรากฏการณ์ของ Broadband ที่จะเป็น Disruptive Change แบบต้องตะลึงกัน

Read More

Google TV เป้าหมายคือประเทศไทย

จริงอยู่ที่ Traditional Media เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์และนิตยสารเป็นอุตสาหกรรมตะวันตกดินในแนวโน้มของประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นสหรัฐ อังกฤษ ฯลฯ เราจึงได้เห็นสงครามข้ามยุคระหว่างสื่อสารมวลชนหรือผู้ปกป้องแห่งอดีต กับ Digital Media หรือผู้รุกรานแห่งอนาคต ทั้งนี้ ไม่ต่างกับอุตสาหกรรมรถม้า และอุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 วันนี้ เป็นการประวิงเวลา จนกว่าอนาคตจะมาถึง และได้ลืมอดีตอย่างบริบูรณ์ เช่นเดียวกับหลายอุตสาหกรรมจากสหัสวรรษที่แล้ว ที่ล้วนพินาศลง โดยเป็นผลกระทบจาก Disruptive Technology เช่น Internet และ Social Media

อย่างไรก็ดี Traditional Media ยังเหลือปราการด่านสุดท้ายที่ Digital ขาด คือ ฐานลูกค้า และขนาดของธุรกิจ

ปัจจุบันมีผู้ใช้ Internet 1.8 พันล้านคน ในขณะที่มีผู้ใช้โทรทัศน์กว่า 4 พันล้านคนทั่วโลก ความแตกต่างนี้ ยิ่งชัดเจนสำหรับประเทศไทย ซึ่งมีการพัฒนาแบบเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน และ ประเทศที่ GDP ใกล้เคียงกัน จากประชากรเกือบ 100% ที่เป็นผู้ใช้โทรทัศน์ เพียง 25% เป็นผู้ใช้ Internet โดยมีแนวโน้มสำคัญที่ประเทศไทยจะล้าหลังเพื่อนบ้านและชาวโลกต่อไปอีก

Read More

ปิดกั้นสื่อ Internet ไม่ง่ายแต่ทำได้

ในสังคมมนุษย์สงครามสื่อเป็นยุทธวิธี เพื่อให้ได้ชัยชนะโดยลดการสูญเสีย หรือพลิกสถานการณ์จากเสมอเป็นชนะ หรือแพ้เป็นเสมอ ปัจจุบันเป็นยุค Long Tail ด้วยเทคโนโลยี Internet มีสื่อน้อยใหญ่ผุดขึ้นทุกหนแห่ง การควบคุมสื่อไม่ง่ายเหมือนอดีต ถึงบุกยึดสถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุก็ไม่สามารถควบคุมสื่อทั้งประเทศได้ ด้วยแนวโน้มสากลสื่อยักษ์ใหญ่แห่งอดีตล้วนหมดอิทธิพลดั่งตะวันชิงพลบ

สื่อ Long Tail เป็นทั้งปัจจุบันและอนาคต ทำสงครามสื่อในยุค Internet ต้องเข้าใจกลยุทธ์และชั้นเชิงของสื่อออนไลน์

Internet เกิดขึ้น 50 ปีก่อนในนาม ARPANET เป็นเทคโนโลยีทางทหารที่ถูกทำลายไม่ได้จนกว่าอุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายจะหยุดทำงาน ปรัชญา คือ การกระจายระบบควบคุมไม่ให้มีจุดอ่อน หรือจุดตายไม่กี่จุดที่ทำลายได้ทั้งระบบ ผ่านมา 5 ทศวรรษได้ถูกต่อยอดเป็นการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลแบบ Social Media ปัจจุบันมีผู้ใช้ 2,000 ล้านคน ทุกคนเป็นสื่อได้หมด ถึงจะเหลือผู้ใช้คนสุดท้ายการเผยแพร่ข้อมูลก็ไม่หมดไป สื่อ 2,000 ล้านคน ควบคุมยากกว่าสื่อโบราณที่มีเพียงหลักร้อย ควบคุม Internet โดยบริบูรณ์ต้องควบคุมผู้ใช้ 2,000 ล้านคน

Read More

น้ำบ่อน้อย รายได้ของธุรกิจเว็บไทย

เคยสงสัยไหมว่าทำไมธุรกิจเว็บไทย ถึงไม่หวือหวาเหมือนในต่างประเทศ สำหรับธุรกิจเว็บแล้ว รายได้หลักคงหนีไม่พ้นโฆษณาออนไลน์ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ล้วนได้อานิสงส์จากแนวโน้มของตลาด ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ในสหรัฐ มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 90.1% และสัดส่วนโฆษณาออนไลน์ จะสูงถึง 15.2% ในปี 2013 และมีความเห็นพ้องกันว่า สื่อพื้นฐานอย่างโทรทัศน์ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายหลักอีกต่อไปแล้ว เพราะ Median อายุสูงถึง 50 ปี และจะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน ประเทศอังกฤษมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 76.4% แต่โฆษณาออนไลน์นั้นสูงถึง 23.5% เมื่อต้นปี 2009 โฆษณาออนไลน์ในอังกฤษมีรายได้สูงกว่าโทรทัศน์ และกลายเป็นสื่อที่มีรายได้โฆษณาสูงสุด

Read More

Cloud Computing โอกาสหรือความท้าทาย ที่อยู่ใกล้ตัว

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีทั้่งเรื่องราวที่ตื่นเต้น และระทึกใจ ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ที่ตื่นเต้น คือการจับมือระหว่าง True และ Microsoft เพื่อให้บริการ Cloud Computing ในประเทศไทย โดย Kevin Turner ผู้เป็น COO ของ Microsoft จาก Redmond, Washington ได้เดินทางมาร่วมแถลงข่าวเอง ส่วนที่ระทึกใจ คือการล้มอย่างไม่เป็นท่า ของ Amazon ผู้ให้บริการ Cloud Computing รายใหญ่อีกราย จนทำให้เว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Foursquare, Quora และ Reddit ต้องล้มตามกัน และให้บริการไม่ได้อยู่หลายวัน จนเกิดการตั้งคำถามที่ว่า Cloud Computing เป็นโอกาสที่แท้จริง หรือความท้าทาย และการพัฒนาสู่ยุคของ Cloud เป็นสิ่งที่ดีต่ออุตสาหกรรมหรือไม่ ในวงการ IT และ Telecom คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Cloud Computing ความจริงแล้ว Cloud Computing หมายถึง การให้บริการการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบโครงข่าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การประมวลผลขั้นพื้นฐาน คือการให้บริการ CPU, Storage และ Memory ซึ่งผู้ใช้ต้องมาประยุกต์เอง ก่อนจะถึงมือผู้บริโภค อีกขั้นตอนหนึ่ง จนถึงการให้บริการ Application สำเร็จรูป เพื่อถึงมือผู้บริโภคโดยตรง แต่ลักษณะจำเพาะของ Cloud Computing ทั้งหมด คือการที่ Hardware, Software และการ Admin ขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการทั่วไป จนถึงการ Upgrade อยู่ในสถานที่และเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้ใช้บริการ สามารถ Focus ที่ Function หลักของการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มที่

Read More

Social Media ประเทศไทย เป็นได้แค่ผู้ตาม

ระยะหลังมานี้ เห็นแต่ข่าวของ Twitter หรือ Facebook อยู่ทุกวัน กลายเป็นเทรนด์ของคนในสังคม ที่จะต้องมีการเขียนทวีต หรือพยายามผนวก Twitter และ Facebook เข้ากับชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้ตกแฟชั่น และสามารถเกาะกระแสการนิยมเห่อแบบไทยๆ ได้ เป็นข้อดีของวงการอินเทอร์เน็ตบ้านเรา เพราะไม่เคยมียุคใด ที่สื่อให้ความสนใจถึงเพียงนี้

อย่างไรก็ดีเคยสงสัยไหมว่าอาการเห่อเช่นนี้ เป็นเฉพาะในประเทศไทยหรือเปล่า หรือประเทศเพื่อนบ้าน ก็คลั่งกระแสเห่อของนอกตามเราด้วย

จากบล็อกที่เขียนเมื่อสองอาทิตย์ก่อน "กรณี Google ถอนตัวจากจีน" การที่บริการท้องถิ่นเอาชนะยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างเช่น Baidu ชนะ Google นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ Search Engine จะเห็นได้ว่า Social Network เจ้าถิ่น อาทิเช่น QQ ของจีน Cyworld ของเกาหลี Mixi ของญี่ปุ่น ล้วนแต่เป็นอันดับหนึ่งในประเทศของตน และสามารถปกป้องตลาดจากการรุกราน โดย Facebook ในกระแสโลกาภิวัตน์ไว้ได้

Read More

กรณี Google ถอนตัวจากจีน

ในวงการอินเทอร์เน็ต คงไม่มีข่าวไหนที่ "ดัง" ไปกว่าการถอนตัวของ Google จากประเทศจีน หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ สิทธิเสรีภาพของสื่อ หรือกระทั่งการจารกรรมข้อมูลของ Google โดยรัฐบาลจีน

แต่สาเหตุแท้จริงที่หลายคนอาจตกไป ก็คือ Google อาจไม่เคยประสบความสำเร็จทางธุรกิจในประเทศจีนเลย เมื่อเทียบกับเจ้าถิ่นอย่าง Baidu

Google เป็นบริษัทที่ List อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ การตัดสินใจที่แท้จริงย่อมมาจากเหตุผลทางธุรกิจ และไม่ควรเป็นการแสดงออกทางความคิด หรือการเมือง ซึ่งอาจถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อบิดเบือนความสนใจจากสาเหตุที่แท้จริง

Read More

Location-Based Services

หากจำกันได้ Time Magazine ปี 2006 เลือก "You" เป็นบุคคลแห่งปี โดยมี Screen Shot ของ YouTube ลงเต็มหน้าปก นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่สื่อ Mainstream อย่าง Time จะยอมรับว่า Social Media ได้มามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของทุกคนแล้ว ทั้งๆที่คนในวงการเขารู้กันก่อนหน้าเป็นปีๆ พอมายุคสมัยนี้ ปี 2010 ฝร่ังหัวแดงหัวดำใน Silicon Valley พูดกันหนาหูว่า เป็นยุคของ "You are here" ซึ่งหมายความว่า ความสำคัญไม่ได้อยู่เพียงที่ "คุณ" แต่อยู่ที่ว่า "คุณอยู่ตรงนี้ ณ สถานที่แห่งนี้" นี่คือจุดเริ่มต้นของการกลับมาของ Location-Based Services (LBS) หรือบริการที่ขึ้นอยู่ตำแหน่งสถานที่ของคุณ

Juniper Research บอกว่า ภายในปี 2014 ธุรกิจ LBS จะมีมูลค่า $12.7B อ่านดูแล้วอาจนึกขนาดไม่ออก ลองคิดดูว่าปัจจุบัน การซื้อขายเพลงใน US มีมูลค่าเพียง $9.2B ซึ่งหมายความว่า LBS กำลังจะมาเป็นธุรกิจที่ใหญ่มากๆ และจะใหญ่กว่าธุรกิจเพลงใน US แล้ว

Read More

เป้าหมายที่แท้จริงของ iPad ที่เด็กเข้าใจ แต่ผู้ใหญ่มองข้าม

Generation Gap เป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะกับ New Media ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตัดสินใจ และได้เรียนรู้ผ่านลูกๆหลานๆ หรือกระทั่งลูกน้องที่ทำงานอีกที คนต่างยุคต่างสมัยย่อมมีความคาดหวังและสิ่งที่เลือกจะมองเห็นที่ต่างกัน พื้นที่สื่อก็เช่นกันมักเป็นการนำเสนอข่าวสารโดยผู้ใหญ่ ซึ่งมีมุมมองตามยุคสมัยของตน สภาวะที่แท้จริงของ New Media น้อยครั้งจะได้รับความสนใจโดยสื่อพื้นฐานและผู้ใหญ่ทั่วไป จนกระทั่งกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่เคยเป็นเด็กได้เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา และคนรุ่นใหม่ได้แทนที่คนรุ่นเก่าซึ่งอาจถูกเบียดตกเก้าอี้ไปในที่สุด หากจะพูดว่า ธุรกิจบันเทิงเช่นเพลงและหนังกำลังลดความสำคัญลง ในขณะที่ธุรกิจเกมส์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีขนาดใหญ่กว่าสื่อบันเทิงพื้นฐานในหลายประเทศแล้ว คงจะเป็นเรื่องไกลตัวที่เห็นภาพได้ยากสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยเล่นเกมส์เลย ในขณะที่เด็กในยุคปัจจุบันเลือกที่จะเล่นเกมส์มากกว่าที่จะดูหนังฟังเพลงมาระยะหนึ่งแล้ว PricewaterhouseCoopers คาดคะเนว่าธุรกิจเกมส์ในปี 2012 จะมีมูลค่าเกือบ $70,000 ล้าน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธุรกิจเพลงถึง 5 เท่า เหลือเพียงแต่ธุรกิจหนังที่ยังพอไปไหว แต่ก็คงจะตกกระป๋องให้เกมส์ในที่สุด เกมส์ยักษ์ใหญ่อย่าง World of Warcraft ซึ่งคิดค่าสมาชิก $14.99 ต่อเดือน มีผู้เล่นเกือบ 12 ล้านคน ซึ่งมากกว่าประชากรประเทศเกือบครึ่งโลก ย้อนกลับมาดูประเทศไทย ลองเอารายได้บริษัทเกมส์กับเพลงมาเปรียบเทียบ อีกไม่นานก็ต้องตามแรงโน้มถ่วงของธุรกิจโลกไปในที่สุด

Read More

CASE STUDY: Twitter, Facebook และ YouTube: กลยุทธ์การทำการตลาด และสร้างสังคมแบรนด์ ด้วยนวัตกรรม Social Web

ในยุคของลองเทล (Long Tail) สื่อพื้นฐาน (Traditional Media) เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ลดบทบาทลง เมื่อเทียบกับสื่อออนไลน์ ซึ่งกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งในด้านการเข้าถึงและการประยุกต์ใช้ ดังเห็นได้จากการลดตัวของสัดส่วนโฆษณาบนสื่อพื้นฐานและการขยายตัวบนสื่อออนไลน์ทั้งในและนอกประเทศ Social Web หรือเว็บสังคม เช่น Twitter, Facebook หรือ YouTube เป็นนวัตกรรมสื่อออนไลน์ ที่มีการเข้าถึงสูงสุด และสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ โดยอาศัยการเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างสมาชิกหรือเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือการตลาดได้หลายรูปแบบ เช่น แบบตรง (Direct) เจาะกลุ่มเป้าหมาย (Target) ปากต่อปาก (Word-of-Mouth) และเรียลไทม์ (Real-Time) นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์สร้างสังคมแบรนด์ (Brand Community) เพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ขององค์กร Social Web จึงเป็นกลยุทธ์ใหม่ ที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางการแข่งขันได้

Read More

สัมภาษณ์ ดร. อธิป ปิดดีล iPhone ให้ TrueMove ใน 7 วัน

“ทรูมูฟ คว้าสิทธิทำตลาดไอโฟนในไทย” ถือเป็นข่าวแรงเบียดโค้งสุดท้ายปี’51ในแวดวงไอซีทีแต่มีไม่กี่คนที่ทราบว่าเบื้องหลังความสำเร็จของดีลครั้งนี้ คือ ทักษะในการเจรจาระดับอินเตอร์ของ “อธิป อัศวานันท์” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรม บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งเป็นทายาทมือกฎหมายแถวหน้ากลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น

นักวิจัยระดับโลกคืนบ้านเกิด

แม้จะมีคุณพ่อ (อธึก อัศวานันท์) เป็นนักกฎหมายที่โด่งดังระดับแถวหน้า แต่ "อธิป" กลับเลือกเส้นทางการศึกษาในสายวิชาการมาโดยตลอด และยังมีผลงานบนเวทีระดับโลก เมื่อผลงานวิจัยหัวข้อ "ออนไลน์ คอมมูนิตี้" สามารถคว้ารางวัล "เดอะ เบสต์ รีเสิร์ช" จาก International Conference on Information Systems (ICIS 2002) ประเทศสเปน

Read More