Crowdfunding โอกาส SME ไทย

ผมเป็นผู้ที่มีรสนิยมแตกต่าง ถูกจัดได้ว่าเป็น Niche หรือ Long Tail สินค้า Mainstream ที่ทุกคนสนใจกลับไม่เคยอยู่ในสายตา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตามกระแสหรือที่เรียกว่านำกระแสก็ตาม

การเลือกซื้อสินค้าของผม ทำได้อย่างยากลำบาก เพราะสินค้าส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาสำหรับลูกค้า Mainstream ที่ซื้อสินค้าตามกระแส เพราะเป็นเรื่องยากและเต็มไปด้วยความเสี่ยง สำหรับผู้ผลิตรายหนึ่ง ที่จะกู้ยืมหรือระดมทุนด้วยวิธีอื่น มาเพื่อผลิตสินค้าสำหรับลูกค้า Niche

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมได้ค้นพบ Kickstarter.com ซึ่งเป็นบริการระดมทุนจากมวลชน (Crowdfunding) ผู้ที่มีไอเดียที่จะผลิตสินค้าและนวัตกรรมที่น่าสนใจ แต่ไม่มีเงินทุน สามารถระดมทุนผ่าน Kickstarter.com ได้ และผู้ที่มีความสนใจและต้องการให้สินค้าจากไอเดียนั้นถูกผลิตขึ้นมาจริง สามารถให้เงินสนับสนุนได้ โดยอาจมีสิ่งตอบแทน เช่นของที่ระลึก หรือกระทั่งสิทธิในการเป็นเจ้าของรุ่นพิเศษของสินค้านั้น เมื่อถูกผลิตขึ้นมาจริง

Read More

ประสบการณ์ครั้งแรกที่ "อินเดีย"

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปบรรพชาอุปสมบทที่ประเทศอินเดีย ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีพระราชรัตนรังษี (วีรยุทโธ) หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นพระอุปัชฌาย์ และยังได้มีโอกาสแสวงบุญไปยังสถานที่ประสูติ ปรินิพพาน และ ปฐมเทศนา ของประพุทธเจ้า สถานที่ทั้งสี่แห่ง ถูกกำหนดโดยพระพุทธเจ้า ให้เป็นสังเวชนียสถาน ที่สำคัญสำหรับชาวพุทธ เพื่อให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า

เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ขอแนะนำให้กับชาวพุทธทุกคน ที่มีความศรัทธา และพร้อมที่จะแสวงหาความใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ครั้งสมัยพุทธกาล

นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่ผู้เขียนสามารถตัดขาดอย่างไร้การเชื่อมต่อจากโลกอินเทอร์เน็ต เป็นเวลาเกือบสิบวัน ซึ่งไม่เคยคิดว่าจะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคสมัยปัจจุบัน

Read More

ประสบการณ์ Omni Channel จากใจกลางกรุงลอนดอน (2)

สืบเนื่องจากประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ของการประยุกต์ใช้ Omni Channel จากใจกลางกรุงลอนดอน จึงละเว้นมิได้ ที่ต้องกล่าวถึง เทคโนโลยี QR Code ซึ่งเป็น Key Enabler ที่สำคัญของ Omni Channel ในยุคปัจจุบัน และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะสามารถนำไปสู่นวัตกรรม Machine to Machine (M2M) ที่กำลังจะเป็นอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ ในอีกไม่นานข้างหน้านี้

QR Code คือบาร์โค้ดสองมิติ ที่สามารถอ่านได้ด้วยโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง สมาร์ตโฟน และเครื่องสแกน QR อื่นๆ

สำหรับคนไทย ประสบการณ์ QR Code ที่คุ้นเคยที่สุด ย่อมต้องหนีไม่พ้นการ Add เพื่อนใน Line โดยอาศัยกล้องบนโทรศัพท์มือถือทำการสแกน QR Code ที่อยู่บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือของเพื่อน

Read More

ประสบการณ์ Omni Channel จากใจกลางกรุงลอนดอน

บ่อยครั้ง เรามักจะมีความเชื่อที่ว่า เทรนด์ส่วนใหญ่ในโลกแห่งเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมโยงกับไลฟ์ สไตล์ที่ทันสมัย ในสังคมของคนเมือง จะต้องมีจุดกำเนิดมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์รวมของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ทำให้เราอาจต้องมองข้าม ประเทศในยุโรป ที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ก่อนสหรัฐ และยังคงเป็นพลังที่สำคัญทางเศรษฐกิจของโลก นอกจากนี้รูปแบบของสังคมเมืองในยุโรป มักมีความใกล้เคียงกับประเทศไทยหรือกรุงเทพมหานคร มากยิ่งกว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล และมีวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นเอกเทศ การเรียนรู้จากยุโรป จึงอาจเป็นประสบการณ์ที่เปรียบได้จริง กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ในอีกไม่นานข้างหน้านี้

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สิ่งแรกที่ต้องตั้งข้อสังเกต และอยู่เหนือความคาดหมายทุกประการ คือการแพร่หลายของ Omni Channel โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนถนนสายหลักในใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่กลับมิได้เห็นการแพร่หลายของ Omni Channel ถึงเพียงนี้

ตามที่เคยกล่าวถึง Omni Channel คือการหลอมรวม (Convergence) ของทุกช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า ให้เป็นประสบการณ์เดียวกัน ซึ่ง Omni Channel มีความแตกต่างจาก Multi Channel ตรงที่ Multi Channel มีหลายช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า แต่มักบริหารจัดการแต่ละช่องทางอย่างเป็นเอกเทศ จึงมิใช่เป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า

Read More

เพิ่มยอดขายด้วย Big Data -- ยุทธวิถีแห่ง Digital Economy

หลายเดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสที่จะศึกษาตัวอย่างจริงของการนำ Big Data มาใช้เพื่อเพิ่มยอดขายขององค์กรชั้นนำ ในระดับโลก และยังได้มีโอกาสที่จะศึกษาร่วมกับองค์กรชั้นนำในระดับประเทศ ในการที่จะนำยุทธวิถีแห่ง Big Data มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

จากที่ได้กล่าวถึงในหลายบทความก่อนหน้านี้ ประโยชน์ที่แท้จริงของ Big Data (อภิมหาข้อมูล) คือการทำ Analytics (วิเคราะห์เจาะลึก) แต่เคล็ดวิชาที่แท้จริงที่ยังคงเป็นปริศนาคาใจสำหรับหลายท่าน คือจะต้องวิเคราะห์เจาะลึกอย่างไร จึงจะเพิ่มยอดขายได้

จากหลายทศวรรษก่อนหน้า ก่อนที่จะมียุคแห่งดิจิทัล การวิเคราะห์ในช่วงนั้นได้เน้นหลัก 80:20 (รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Pareto หรือ Power's Law) 80:20 ได้บัญญัติไว้ว่า ยอดขาย 80% มาจากสินค้าขายดี 20% ซึ่งสินค้าขายดี 20% นั้น อาจนับเป็น 100% ของกำไรทั้งหมด เคล็ดวิชาในยุคนั้น จึงเป็นการแสวงหาสินค้า (SKU) ที่ขายดีที่สุด เพื่อวางขายในชั้นวางของที่มีอยู่จำกัด และเป็นการกำจัดสินค้าที่ยอดขายต่ำ เพื่อปลดปล่อยชั้นวางของให้กับสินค้าที่ขายดีกว่า

Read More

Digital Economy กับความมั่นคงของชาติ บทเรียนสำคัญจากเกาหลีเหนือ

หลายท่านอาจมิได้ติดตามข่าวที่ว่านี้ ทว่า ราวหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันขึ้นปีใหม่2015 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญระดับโลก ที่สำแดงให้เห็นถึงภาวะแห่งดุลอำนาจระหว่างประเทศในแห่งโลกอินเทอร์เน็ตอันไร้พรมแดน เมื่อวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2014 อินเทอร์เน็ตแห่งชาติเกาหลีเหนือ ได้ถูกโจมตีโดยกองกำลังไม่ทราบฝ่าย (Hackers) ซึ่งทำให้ชาวเกาหลีเหนือที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศไม่สามารถที่จะติดต่อกับโลกภายนอกผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และต้องใช้เวลาถึง 9 ชั่วโมง จนกระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม จึงจะสามารถกอบกู้สถานการณ์ได้สำเร็จ

เหตุการณ์ดังกล่าว อาจแลดูเป็นเรื่องราวสถานเบา เพราะน้อยคนในเกาหลีเหนือ เป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การ Hack อินเทอร์เน็ตแห่งชาติเกาหลีเหนือ จึงมีผลน้อยมากในเชิงปฏิบัติ แต่อาจเป็นการหวังผลด้วยเหตุทางการเมือง หรือเป็นการสาธิตพลังอำนาจระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกแล้ว กลับสะท้อนถึงบทเรียนและข้อคิดบางประการ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ และสามารถเชื่อมโยงถึงสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้อย่างน่าเป็นห่วง

Read More

Digital Economy โอกาสหรือวิกฤตของ SME ไทย (2)

จากบทความที่แล้วได้กล่าวถึงรูปแบบของธุรกิจ ME ที่อาจต้องเผชิญกับวิกฤตเมื่อเข้าสู่ยุคของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้เขียนขออนุญาตขยายความเพิ่มเติมด้วยหลักวิชาการของการแข่งขัน ในพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น ผู้บริโภคย่อมจะเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่สามารถให้ราคาได้ต่ำที่สุด ทั้งนี้สามารถยกเว้นได้หากมีความแตกต่างในการเข้าถึงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างเช่นผู้บริโภคอาจเลือกซื้อจากร้านค้าที่ให้ราคาที่สูงกว่า แต่อยู่ใกล้บ้านมากกว่า เช่นว่า เป็นร้านเดียวที่มีอยู่ในหมู่บ้าน จังหวัด หรือกระทั่งประเทศ ในอดีต นี่เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของธุรกิจ SME ที่อาศัยความได้เปรียบจากสถานที่ ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายกว่า

ภายใต้การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความได้เปรียบของ SME ดังกล่าวกำลังจะอันตรธานหายไป เพราะการใช้บริการ E-Commerce ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในหมู่บ้าน จังหวัด หรือกระทั่งประเทศเดียวกัน รูปแบบของธุรกิจ E-Commerce โดยมากแล้ว จะเหลือผู้ชนะแต่เพียงรายเดียว ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นผู้ชนะในระดับประเทศ แต่ได้กลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอย่างเช่น Amazon ที่ได้บุกยึดตลาดไปทั่วโลก ซึ่งแม้แต่ Digital Economy ของไทย ก็จะต้องตกเป็นเหยื่อของยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เพราะระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไม่มีพรมแดน และไม่สามารถกีดกันผู้เล่นรายใหญ่ที่ Dominate ตลาด อยู่ในระดับโลกได้อย่างแน่นอน

Read More

Digital Economy โอกาสหรือวิกฤติของ SME ไทย

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ถูกรับเชิญไปให้สัมภาษณ์ในเรื่องของ Omni-Channel vs. E-Commerce ผ่านรายการโทรทัศน์ ตอบโจทย์ SME ซึ่งคำถามและคำตอบในรายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) กับโอกาสของ SME ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนนำเสนอข้อคิดเห็นในบทความฉบับนี้

ปัจจุบัน มีความแนวคิดที่ว่า ในยุคของ E-Commerce เพียงแค่อาศัยการขายของผ่านหน้าเว็บ มือถือ หรือ Social Networks ธุรกิจ SME ก็สามารถตั้งตัวได้ โดยไม่ต้องลงทุนเปิดหน้าร้าน และช่องทางอื่นๆ ในการเข้าถึงลูกค้า แนวคิดนี้ ได้ทำให้ SME เป็นจำนวนมาก ได้เริ่มให้ความสนใจกับการทำธุรกิจด้วย E-Commerce และยังคงมีตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จอยู่จำนวนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น SME รายหนึ่งที่ตกเป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน ผู้ซึ่งใช้เวลาไม่กี่เดือน ในการสร้างธุรกิจที่มีมูลค่า 500 ล้านบาท จากการขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักผ่านช่องทางของ E-Commerce และโปรโมทผ่าน Social Networks โดยที่ไม่ต้องลงทุนเปิดหน้าร้าน และช่องทางอื่นๆ เพื่อการตลาดเลย

Read More

Omni Channel: สิ้นสุดของยุค E-Commerce

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานทางด้าน Retail ทั้งในสหรัฐและในยุโรป สิ่งแรกที่ต้องตั้งข้อสังเกต จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือไม่มีการใช้คำว่า E-Commerce อย่างแพร่หลายอีกต่อไป ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่คำว่า Omni Channel, Multi Channel และ Convergence กลับถูกหยิบยกมาใช้อย่างกว้างขวาง และได้มาเป็นยุทธวิธีที่สำคัญที่สุดของธุรกิจชั้นนำทั้งในสหรัฐและในยุโรป

Omni Channel, Multi Channel และ Convergence ล้วนหมายถึงการเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า คอลเซ็นเตอร์ เว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ธุรกิจในปัจจุบัน จะต้องเสียเปรียบอย่างแน่นอน หากเลือกแต่เพียงช่องทางหนึ่งช่องทางใดในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งหากเป็นธุรกิจ E-Commerce ย่อมต้องหมายถึงการเข้าถึงลูกค้าผ่านเว็บไซต์แต่เพียงอย่างเดียว ยุทธวิธีที่สำคัญที่สุดของธุรกิจชั้นนำคือการประสมประสานช่องทางต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบัน การซื้อขายสินค้าแต่ละครั้ง มักมีความข้องเกี่ยวระหว่างลูกค้ากับหลากหลายช่องทาง ดังเช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

Read More

ฝากความหวังกับ Digital Economy (2)

จากบทความที่แล้ว ที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Digital Economy ที่เป็นครั้งแรกในกว่าทศวรรษของการกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT อย่างบูรณาการในระดับชาติ บทความนี้จะขอกล่าวถึงความสำคัญของ Soft Infrastructure เพราะสำหรับผู้อ่านหลายท่าน เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่า Hard Infrastructure อย่างหลายเท่าตัว และมีผลต่อความสามารถในการขับเคลื่อนและความสามารถทางการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

เมื่อกล่าวถึง Hard Infrastructures ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ย่อมต้องหมายถึงระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ไฟเบอร์ออปติกซ์ เสาอากาศ คลื่นความถี่ Data Center ฯลฯ ทั้งหมดนี้มีหน้าที่ในการเก็บรักษาและนำส่งข้อมูลดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ตัวหนังสือ ฯลฯ ซึ่งเป็นการลงทุนใน Hardware ที่มีมูลค่ามหาศาล ลักษณะจำเพาะของ Hard Infrastructures คือเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงช้ากว่า ไม่มีความสลับซับซ้อน และไม่สามารถให้บริการข้ามพรมแดนได้ ยกตัวอย่างเช่น ระบบโทรคมนาคมของประเทศไทย ต้องให้บริการจากประเทศไทยเท่านั้น เพราะจำเป็นต้องมีตัวตนทางกายภาพอย่างเช่นไฟเบอร์ออปติกซ์ที่สามารถเข้าถึงท้องที่นั้นๆ

Read More

ฝากความหวังกับ Digital Economy

เป็นข่าวดีของประเทศ ที่รัฐบาลปัจจุบัน ได้หยิบยก Digital Economy ขึ้นเป็นวาระเร่งด่วนของการปฏิรูปในครั้งนี้ หลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศของเราไม่ได้มีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT อย่างบูรณาการในระดับชาติ ซึ่งได้ส่งผลให้ประเทศชาติได้ตกหล่นเป็นอันดับท้ายๆ ของเอเชียและกระทั่งของอาเซียนในมาตรวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางการแข่งขันทางด้าน ICT

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ICT ในปัจจุบัน ไม่ได้มีเพียงผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ แต่ได้รวมถึงระบบนิเวศของธุรกิจดิจิทัล ซึ่งได้แก่ อีคอมเมิร์ซ คอนเทนต์ สื่อ โฆษณา ฯลฯ ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่มีมูลค่าอันมหาศาล หากเปรียบในระดับโลก ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ล้วนเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูงที่สุด จากการจัดอันดับของ FT Global 500, 3 จาก 5 อันดับของธุรกิจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกเป็นธุรกิจดิจิทัล ได้แก่ Apple, Microsoft และ Google

Read More

ความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับ Big Data และ Analytics (2)

จากบทความก่อนหน้านี้ ที่ได้อธิบายถึง ความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับ Big Data และ Analytics ซึ่งเริ่มต้นจากความสับสนระหว่าง 1. Big Data vs. Analytics และ 2. Analytics vs. Business Intelligence ผู้เขียนยังมีโอกาสได้สัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับผู้บริหารระดับสูงสุดของหลายองค์กรในประเทศไทย จึงขออนุญาตนำเสนอเนื้อหาเพิ่มเติมดังนี้

3. Data Scientists vs. Marketing Analysts และ Marketing Researchers: ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทย ยังคงไม่สามารถที่จะแยกแยะระหว่าง Analytics และ และ Business Intelligence จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากผู้บริหารจะมีความสับสนระหว่างความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Data Scientists และผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Marketing Analysts และ Marketing Researchers ภายในองค์กร

Read More

ความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับ Big Data และ Analytics

ณ เวลานี้ ในโลกแห่งเทคโนโลยีเพื่อการบริหารองค์กร ย่อมไม่มีวลีใดที่จะสามารถคงความนิยมไปได้มากกว่าคำว่า Big Data และ Analytics ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกประยุกต์เป็นกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีอันดับหนึ่งขององค์กรชั้นนำระดับโลก แม้แต่ในประเทศไทย ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ได้รับรู้ และตระหนักในความสำคัญรวมถึงโอกาสในเชิงธุรกิจของ Big Data และ Analytics อย่างไรก็ดี ท่ามกลางโอกาสย่อมมีวิกฤต หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กรภายในประเทศไทย ทำให้ได้มองเห็นว่า ยังคงมีความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับ Big Data และ Analytics ที่จะเป็นอุปสรรคสำหรับการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กรต่างๆ

1. Big Data vs. Analytics: ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทย ยังคงไม่สามารถแยกแยะระหว่าง Big Data และ Analytics ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Big Data คือการบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายอย่างที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้ด้วยเครื่องมือทั่วไป ส่วน Analytics นั้นคือการนำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงลึกให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ดังนั้น Big Data แต่เพียงอย่างเดียว ย่อมไม่สามารถที่จะเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ เท่ากับการที่นำ Analytics มาประยุกต์ใช้กับ Big Data แต่ในทางกลับกัน Analytics กลับสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัย Big Data ฐานข้อมูลที่มีขนาดเล็กกว่า และยังไม่ถึงขั้นของ Big Data ยังสามารถถูกนำมาวิเคราะห์ในเชิงลึกให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้

Read More

คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ การเดิมพันของ Apple Watch

หลังจากที่ได้เป็นกระแสข่าวมานาน ในที่สุด Apple Watch ก็ได้เป็นความจริง เมื่อ Apple ได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ชิ้นแรกของบริษัท พร้อมกับวาระการเปิดตัว iPhone 6 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หาก Apple Watch ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่แพ้การเปิดตัวของ iPhone เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา ก็จะเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยีในรูปแบบของ Smart Devices ที่ถูกวิวัฒนาการจากยุคของคอมพิวเตอร์ที่พกพาได้ เช่น Smartphones, Tablets ฯลฯ เข้าสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากทุกที่ทุกเวลา และรูปแบบการใช้งานที่เกิดขึ้นใหม่จาก Sensors ที่มาพร้อมกับ Smart Devices เช่น GPS, กล้องถ่ายรูป, Motion Sensor ฯลฯ คือความโดดเด่นที่เกิดขึ้นในยุคของคอมพิวเตอร์ที่พกพาได้ ในรูปแบบของ Smartphones, Tablets ฯลฯ ดังเห็นได้จากวิวัฒนาการของ Social Media ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่มุ่งเน้นการแชร์ Location, ภาพ, วีดีโอ ฯลฯ ผ่าน Social Media เช่น Facebook, Instagram, Line ฯลฯ

ความโดดเด่นในยุคต่อไป ในยุคของคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ ย่อมต้องหมายถึงรูปแบบการใช้งานที่มีความพิสดาร จากลักษณะจำเพาะของอุปกรณ์เช่น Apple Watch ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ด้วยอุปกรณ์เช่น Smartphones, Tablets ฯลฯ นั่นก็คือ การที่ผู้ใช้งานจะสวมใส่อยู่ตลอดเวลา และการที่ Apple Watch มี Sensors สำหรับตรวจรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ผู้ใช้งานไม่ได้ถืออยู่ในมือ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ การเคลื่อนไหว การเต้นของหัวใจ Location ฯลฯ ซึ่งสามารถนำไปประมวลผลให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและสุขภาพได้ อย่างไรก็ดี ได้เกิดความผิดหวัง โดยเฉพาะจากกลุ่มธุรกิจสุขภาพ เมื่อ Apple Watch ไม่ได้เปิดตัวพร้อม Sensors ที่มีความแตกต่างเหนือคู่แข่ง และสามารถวัดสัญญาณชีพได้ยังแยบยลยิ่งขึ้น เช่น การนอน น้ำตาลในเลือด การดื่มน้ำ การรับประทานอาหาร ฯลฯ แต่ถึงกระนั้น Apple ได้ประกาศว่า ต่อไปในอนาคต จะมี Sensors ที่ถูกพัฒนาออกมาสำหรับ Apple Watch อีกเป็นจำนวนมาก

Read More

อนาคตการรับชมโทรทัศน์ภายหลังจากทีวีดิจิทัล

กระทั่งวันนี้ การรับชมโทรทัศน์ในประเทศไทย ยังไม่สามารถก้าวข้ามประเด็นถกเถียง ระหว่าง "ดิจิทัล อนาล็อก ดาวเทียม และเคเบิล"

9 เดือนเต็มภายหลังการประมูลทีวีดิจิทัล ที่ กสทช. สามารถนำเงินเข้ารัฐได้ถึง 50,862 ล้านบาท แต่อุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่า "ทีวีดิจิทัล" กลับยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีสมรรถภาพ ในขณะที่รายได้โฆษณาและจำนวนของผู้รับชมส่วนมาก ยังคงกระจุกตัวอยู่กับอุตสาหกรรมเก่า ทีวีอนาล็อก ช่อง 3 5 7 9 11 และไทยพีบีเอส ปัจจุบันช่องทีวีอนาล็อก สามารถคิดอัตราโฆษณาได้ในราคาหลายแสนบาทต่อนาที ในขณะที่ช่องทีวีดิจิทัลบางช่อง ยังคงคิดอัตราโฆษณาในราคาที่หลักพันบาทต่อนาที

ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น อาจเป็นเพียงเส้นผมบังภูเขา ของปัญหาที่แท้จริงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็น ทีวีดิจิทัล ทีวีอนาล็อก ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ที่เจนเนอเรชันใหม่ของผู้บริโภค เลือกที่จะ "ไม่รับชม" โทรทัศน์ในรูปแบบปัจจุบัน แต่หันไปเสพโทรทัศน์ในรูปแบบใหม่ (ใหม่กว่าทีวีดิจิทัล) ที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถรับชมผ่านอุปกรณ์อะไรก็ได้ ได้แก่ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ ในขณะที่โทรทัศน์ทั่วโลกได้กลายมาเป็นเป็นศูนย์รวมของประชากรสูงอายุ

Read More

Big Data สำหรับนักการตลาด

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทีมงาน Digital Matters ที่ได้เชิญผู้เขียนไปเป็นวิทยากร เรื่อง Today and Tomorrow of Big Data for Digital Marketers in Thailand โดยมีผู้รับฟังหลักเป็นนักการตลาด เพราะเป็นโอกาสที่สำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจและข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับ Big Data โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ Big Data กำลังจะมีผลกระทบต่อสาขาอาชีพของนักการตลาดอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกไปจากนี้ ผู้เขียนยังมีข้อสังเกตด้วยว่า Big Data ยังคงเป็นวิทยาการที่ใหม่ในสายตาของนักการตลาดในประเทศ โดยยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและมุมมองที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ Big Data อีกมาก

เบื้องแรก การเข้าใจ Big Data จำเป็นต้องอธิบายถึงรากฐานก่อนว่า Big Data นั้นคืออะไร หากแปลความหมายตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษแล้ว Big Data คือการบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล อย่างชนิดที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ด้วยระบบฐานข้อมูลทั่วไป ข้อมูลใน Big Data ไม่เพียงแต่จะเป็นข้อมูลของลูกค้าองค์กร แต่สามารถที่จะรวมถึงข้อมูลจาก Social Media ซึ่งเป็น User Generated Content ในรูปแบบต่างๆ ที่มีปริมาณมากมายมหาศาล และมีการขยายตัวอย่างทวีคูณ หลักการของ Big Data โดยเบื้องต้น คือการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีสำหรับจัดเก็บข้อมูลอย่างเฉพาะทาง

Read More

บุกตลาดลองเทล อีคอมเมิร์ซแบบไทย

เป็นบทความที่สามแล้ว ที่ต้องข้องเกี่ยวกับจักรยานอีกครั้ง ลองเทล (Long Tail) เป็นทฤษฎีการตลาดที่ถูกประยุกต์ขึ้นจากหลักสถิติเก่าแก่ที่เรียกว่าพาวเวอร์ลอว์ (Power Law) ซึ่ง Power Law ยังมีชื่อเล่นว่า กฎ 80 - 20, พาเรโต (Pareto) ฯลฯ ทั้งนี้ Power Law ในเชิงของการตลาดได้บัญญัติไว้ว่า 80% ของยอดขาย มักมาจากสินค้าที่ขายดี 20% แรก จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์ในการบริหารคลังสินค้าในกรณีที่มีข้อจำกัดของชั้นวางสินค้า ร้านค้าทั่วไปจึงได้คัดสรรเฉพาะสินค้าที่ขายดีที่สุด สินค้า Long Tail คือสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าขายดี 20% แต่อยู่ในกลุ่ม 80% ที่เหลือ และมักสร้างรายได้เพียง 20% ของยอดขายรวม ร้านค้าทั่วไปจึงไม่เลือกที่จะวางขายสินค้า Long Tail เพราะมีต้นทุนต่อการขายที่สูงกว่า และมีผลต่อรายได้รวมที่ต่ำกว่า

เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา อีคอมเมิร์ซ เช่น อเมซอนดอทคอม ได้แหกกฎ Power Law และสามารถสร้างรายได้จากสินค้า Long Tail เป็น 50% ของยอดขายรวม ทั้งนี้เป็นเพราะอเมซอนไม่ได้มีข้อจำกัดของชั้นวางสินค้า และสามารถมี

แคตตาล็อกของสินค้าที่ไม่จำกัดขนาด และยังมีกลยุทธ์ในการบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) โดยมีเครือข่ายของคลังสินค้าที่สามารถจัดส่งได้ทั้งโลก ด้วยนวัตกรรมอันเยี่ยมยอดทางโลจิสติกส์ และไม่ได้มีข้อจำกัดของร้านค้าทั่วไป ที่ต้องบริหารคลังสินค้าอย่างเฉพาะแห่งเท่านั้น

Read More

จักรยานอัจฉริยะ หลอมรวมเทคโนฯเพื่อชัยชนะ

"ขาแรง"แต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่ใช่สูตรสำเร็จสำหรับชัยชนะ ไม่ว่าจะเป็นการเอาชนะตัวเองหรือการเอาชนะผู้อื่นก็ตาม จักรยานเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจที่เฉียบขาดและแม่นยำ

อีกไม่ช้านี้ สมาร์ทโฟน กำลังมาจะมามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการขับขี่จักรยาน นั่นคือการตัดสินใจเพื่อควบคุมจักรยานแทนมนุษย์

สำหรับจักรยาน จุดแรกเริ่มของการหลอมรวมเทคโนโลยี คงหนีไม่พ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงข้อมูลความเร็ว รอบขา (Cadence) และการเต้นของหัวใจ ซึ่งเป็นข้อมูลองค์ประกอบแรกเริ่ม ที่เปิดโอกาสให้ผู้ขับขี่จักรยานสามารถบริหารสมรรถนะของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นจุดเริ่มต้นกลยุทธ์เพื่อชัยชนะในการขับขี่จักรยาน รวมถึงการบริหารคู่แข่ง เพื่อนร่วมทีมและสภาพแวดล้อม

Read More

อีคอมเมิร์ซ อาจไม่ใช่โอกาสของธุรกิจไทย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจรวมไปถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต และการที่มีงานอดิเรกใหม่ๆ ย่อมต้องก่อให้เกิด การมีทัศนคติที่แตกต่าง จากการที่ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ หรือกระทั่งสิ่งเดิมๆ แต่จากมุมมองใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่มีความสนใจในสิ่งนั้นมาก ย่อมต้องเป็นแรงผลักดัน ให้มีการทุ่มเทเวลา เพื่อที่จะศึกษาค้นคว้าและสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินชีวิตอย่างคุ้มค่า

หลายเดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีงานอดิเรกใหม่ คือการขี่จักรยาน ซึ่งเริ่มต้นจากจักรยานพับได้ และได้มีพัฒนาการเข้าสู่ความสนใจในจักรยานเสือหมอบ หลังจากที่ได้ไปทดลองขับขี่ที่สนามสีเขียวของสนามบินสุวรรณภูมิอยู่หลายสัปดาห์ ซึ่งความสนใจยังได้ขยายผลสู่เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เสื้อผ้า และกระทั่งเรื่องของสุขภาพ

จากการทุ่มเทเวลา เพื่อที่จะค้นคว้าและสรรหาสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้ได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจจักรยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จักรยานเสือหมอบสำหรับการแข่งขัน ซึ่งอีคอมเมิร์ซได้มามีบทบาทที่สำคัญสำหรับลูกค้า ที่ต้องการความแตกต่างและหรือสินค้าที่ดีที่สุด

Read More

ธนคม : ธุรกิจใหม่ ...หลอมรวมธนาคารและโทรคม

เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้ถูกรับเชิญไปเป็นวิทยากรเรื่อง Mobile Financial Services ที่ GSMA Mobile Asia Expo 2014 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน Mobile Financial Services คือบริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ประกอบไปด้วยบริการทางการเงินที่คล้ายธนาคาร (ฝากเงิน ถอนเงิน และโอนเงิน) และบริการชำระเงิน

การหลอมรวมระหว่างธุรกิจธนาคารและธุรกิจโทรคมนาคมเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ได้มีตัวอย่างของบังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ ที่ Mobile Financial Services ได้กลายมาเป็นช่องทางหลักของประชากรในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ปัจจัยที่สำคัญ คือประเทศเหล่านี้เข้าถึงบริการทางการเงินที่ต่ำและประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่เคยมีแม้กระทั่งบัญชีเงินฝากของธนาคาร แต่ประเทศเหล่านี้กลับมีการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือสูง และจำนวนสาขาของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยังมีมากยิ่งกว่าจำนวนสาขาของธนาคารหลายเท่าตัว

รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ จึงประกาศนโยบายสนับสนุนผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญในการให้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชากรส่วนใหญ่

Read More