Telecom Man of the Nation

การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีอยู่หลายด้าน อาทิเช่น ดนตรี ถ่ายภาพ จิตรกรรม การช่าง กีฬา พระราชนิพนธ์ รวมไปถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร จวบจนกระทั่ง โทรคมนาคม ที่ทรงเป็นผู้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวง ด้วยพระปรีชาสามารถ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อทั้งสายตาชาวไทยและชาวโลก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสาร มาตั้งแต่ก่อนยุคของโทรศัพท์มือถือ หรือที่เป็นสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อกับพสกนิกรของพระองค์ท่าน เพื่อนำพาน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้น ไปสู่ประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยากลำเค็ญ

Read More

ว่าด้วย Bokeh กับ iPhone 7 Plus

สำหรับคนที่ชอบถ่ายภาพ ย่อมต้องรู้ดีว่า การที่จะได้ Bokeh ที่มีคุณภาพนั้น มาพร้อมกับการลงทุนและการเสียสละ

สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ Bokeh คือการถ่ายภาพที่บางส่วนของภาพนั้นไม่ได้อยู่ในโฟกัส

แต่สำหรับท่านที่ยังคงไม่ทราบอีก อาจต้องสงสัยว่า การถ่ายภาพ เพราะเหตุใดจึงต้องการให้มีบางส่วนของภาพ ไม่ได้อยู่ในโฟกัส และอาจยังเข้าใจไปอีกว่า การถ่ายภาพที่ทุกอย่างอยู่ในโฟกัส หรือที่พูดกันอย่างเข้าใจง่ายว่า ชัดเท่ากันทั้งภาพ เป็นคุณสมบัติอันพึงประสงค์ ของการถ่ายภาพระดับปรมาจารย์

Read More

คลาวด์คอมพิวติงแห่งยุคสตาร์ทอัพ

ได้กลับมาพัฒนาแอปพลิเคชันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้ห่างเหินไป 2 - 3 ปี

สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือรูปแบบใหม่ของการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยการใช้คลาวด์คอมพิวติง ซึ่งไม่ใช่รูปแบบเดิมของคลาวด์คอมพิวติงที่อาจคุ้นเคยกันจากไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ แต่เป็นรูปแบบใหม่ที่มีความเหมาะสมกับธุรกิจสตาร์ทอัพมากที่สุดในยุคปัจจุบัน

ต้องเท้าความก่อน

คลาวด์คอมพิวติงในรูปแบบเดิมเป็นนวัตกรรมที่ทำให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเซอร์เวอร์ของตัวเอง หรือหากเป็นธุรกิจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์เป็นของตัวเอ

Read More

อินเทอร์เน็ตครอบคลุมทุกหมู่บ้าน จำเป็นหรือไม่?

หลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ได้เคยกล่าวถึง กรณีที่ เวิร์ด อีโคโนมิค ฟอรั่ม (World Economics Forum) ได้จัดทำรายงาน เน็ตเวิร์ค เรดิเนส อินเด็กซ์ (Network Readiness Index) 2016 ซึ่งประเทศไทย ได้ถูกยกขึ้นมาราว 20 อันดับ จากปี 2015 ในมิติที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของภาครัฐ โดยเป็นการสะท้อนว่า ต่างชาติให้การยอมรับ ถึงพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรม จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

แต่สิ่งหนึ่ง ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง นั่นก็คือ การที่ประเทศไทย ได้ถูกลดอันดับจากที่ 1 ในปี 2015 สู่ อันดับที่ 97 ของโลก ในปี 2016 ในด้านการครอบคลุมของสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

Read More

การรับผิดในยุคดิจิทัล

ในสังคมไทย มักจะมีการเรียกร้อง ให้ธุรกิจดิจิทัล ต้องมามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการกระทำผิดโดยผู้บริโภค

ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะในต่างประเทศ มีการกำหนดขอบเขตการรับผิดของธุรกิจอย่างชัดเจน ต่อการกระทำที่เกิดขึ้นโดยผู้บริโภคของธุรกิจ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฯ ๒๕๕๐ มาตรา ๑๕ ได้กำหนดให้ธุรกิจดิจิทัล เช่น เฟสบุ๊ค และ ยูทูป ต้องถูกระวางโทษเช่นเดียวกับผู้บริโภคที่กระทำความผิดผ่านบริการของตน

เช่นว่า เมื่อผู้ใช้งาน ได้นำเสนอวีดีโอที่ผิดกฎหมาย ผ่านระบบของยูทูป บริษัทยูทูป ก็ต้องถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกับผู้ใช้งานที่กระทำผิด

Read More

โปเกม่อน โก ผสมผสาน โลกดิจิทัล โลกจริง

หลายวันมานี้ ได้ยินแต่เรื่องราวของ โปเกม่อน โก แอพพลิเคชั่นยอดฮิต ทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก ที่กำลังสร้างวัฒนธรรมใหม่บนฐานของผู้เล่นที่มีจำนวนมหาศาล และได้ใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในการแซงหน้าแอพพลิเคชั่นชื่อดังจากยุคก่อนหน้า อย่างเช่น ทวิตเตอร์ ที่ต้องใช้เวลาสะสมฐานผู้ใช้งานเป็นเวลากว่า 10 ปี

ในแง่มุมของเทคโนโลยี ความสำเร็จของ โปแกม่อน โก มาจากการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการขยายโลกจริง (Augmented Reaility) ซึ่งเป็นขยาย (Augment) การรับรู้โลกจริง (Reality) ของผู้ใช้งาน ด้วยการแสดงผลจากโลกดิจิทัล เข้าไปซ้อนทับกับภาพของโลกจริง
 

Read More

Uber กำลังจะถูกกฎหมายแล้ว ในประเทศจีน

สวนกระแสสังคมโลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ที่รัฐบาลในหลายประเทศ ยังคงปกป้องธุรกิจจากยุคเดิม จากการถูกแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ด้วยนวัตกรรมปลาเร็วล้มปลาใหญ่ โดยนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ ที่อาจต้องนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจจากยุคก่อนหน้า ทันทีที่รัฐบาลจีนประกาศว่า Uber กำลังจะถูกกฎหมายแล้ว

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ปรากฎการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ก็เป็นข่าวดีสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) ของประเทศ เพราะเหตุการณ์ดังกล่าว กำลังจะเป็นทั้งบรรทัดฐานและกรณีศึกษา ของการพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ที่ยังไม่ยืดหยุ่น ต่อพัฒนาการของธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบยอดนิยมที่กำลังประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามสำหรับสตาร์ทอัพในยุคนี้

Read More

ดิจิทัลอีโคโนมี: ความสำเร็จที่สัมผัสได้ ในสายตาต่างชาติ

เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ เวิร์ด อีโคโนมิค ฟอรั่ม (World Economics Forum) ได้จัดทำรายงาน เน็ตเวิร์ค เรดิเนส อินเด็กซ์ (Network Readiness Index) ซึ่งเป็นการจัดอันดับ ความพร้อมของแต่ละประเทศ ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการพัฒนาและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ

ซึ่งจากปีก่อนหน้านี้ (2015) World Economics Forum ได้ใช้ชื่อธีมว่า ไอซีทีเพื่อการเติบโตที่เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง (ICTs for Inclusive Growth) แต่ในปีนี้ (2016) ได้ใช้ชื่อว่า นวัตกรรมในเศรษฐกิจดิจิทัล (Innovating in the Digital Economy) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ต่างชาติ ได้มองว่าเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นบริบทที่สำคัญ เพื่อการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งไม่ต่างกับมุมมองและยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

Read More

รถยนต์ไร้คนขับ ครั้งแรกที่มีผู้เสียชีวิต

ในแวดวงแห่งเทคโนโลยีชั้นสูง คงมีเพียงไม่กี่สิ่งอย่างที่น่าตื่นเต้นและสมควรติดตามไปยิ่งกว่า ความก้าวหน้าอย่างทะยานฟ้าของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

แต่สำหรับในประเทศไทย เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ยังคงเป็นสิ่งที่ประชากรทั่วไปสามารถเข้าถึงและสัมผัสได้ยาก เพราะยังคงขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะไทย ได้ถูกพัฒนามาเป็นฐานของการผลิตรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก และรถยนต์ไร้คนขับ เป็นอีกก้าวหนึ่งที่ความท้าทาย สำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ที่กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลง กับหลากหลายอุตสาหกรรม และส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้าง ถึงการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วไป ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

Read More

สตาร์ทอัพ vs. พ.ร.บ. คอมฯ

ธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน มีจำนวนมากที่อยู่ภายใต้รูปแบบของ Sharing Economy นั่นก็คือ การให้บริการ ที่ เว็บไซต์ หรือ แอพ เช่น Uber, Airbnb, GrabTaxi ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลาง โบรกเกอร์ หรือ ตลาด สำหรับผู้ให้บริการ ที่ความจริงแล้ว ก็คือผู้ใช้งานที่ปลายทาง ที่นำทรัพยากรที่ตนมีอยู่ มายกระดับเพื่อให้บริการผ่าน เว็บไซต์ หรือ แอพ เช่นรถยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซค์ ในกรณีของ Uber หรือ GrabTaxi  และที่พักในกรณีของ Airbnb

Sharing Economy นั้น แท้ที่จริง ก็สืบสันดานมาจากรูปแบบของ Peer-to-Peer ซึ่งมีธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จประสบความสำเร็จจากยุคก่อนหน้านี้ ด้วยการให้บริการที่มาประยุกต์เป็น Social Networks หรือ Social Media เช่น Facebook, YouTube ฯลฯ

Read More

กฎหมายดิจิทัล ความหวังสู่การปฏิรูป

การปฏิรูปดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำลังเข้มข้นขึ้นในทุกช่วงขณะ ภายหลังจาก Start Up Thailand 2016 และ Digital Thailand 2016 สัปดาห์ที่ผ่านมา สนช. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ 122 คะแนนเห็นชอบการตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างเป็นทางการ

สัปดาห์ที่ผ่านมาอีกเช่นกัน สมาคมโทรคมคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดเสวนา “กฎหมายดิจิทัล ความหวังสู่การปฏิรูป” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT เป็นประธานเปิดงานฯ ร่วมกับรองเลขาธิการ กสทช. พลอากาศตรี ธนพันธ์ หร่ายเจริญ

ซึ่งได้หยิบยก กฎหมายดิจิทัล ที่สำคัญ 4 ฉบับได้แก่

Read More

กฎหมายเดิมๆ อุปสรรคของธุรกิจสตาร์ทอัพ

ไม่ควรพลาด สัปดาห์นี้ งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงไอซีที ซึ่งเป็นงานแสดงพลังและจุดยืนของคนไทย เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลระดับสากล และอีกนัยหนึ่ง เป็นการรับช่วงต่ออย่างไม่เป็นทางการจาก งานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 2016 ที่จัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการแสดงวิสัยทัศน์จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ประเทศไทยต้องสร้างนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งก็คือ สตาร์ทอัพ”

จากนิยามของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการค้นหา New Engines of Growth ชุดใหม่ ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ต้องหวนกลับมาคิด ว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกแล้ว ประเทศนี้จะสนับสนุน New Engines of Growth หรือจะปกป้องธุรกิจจากยุคเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ กำลังสร้าง นวัตกรรมปลาเร็วล้มปลาใหญ่ หรือ Disruptive Innovation ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่จะต้องนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจจากยุคเดิม ผู้บริหารประเทศ จะติดสินใจอย่างไร

Read More

สตาร์ทอัพ ไม่มีวันตาย

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เคยมีโอกาสสัมผัสกับ การเกิด การพัฒนา การรุ่งเรือง และกระทั่งการล่มสลาย ของธุรกิจสตาร์ทอัพ ผ่านหลายยุคหลายสมัย ซึ่งมีทั้งประสบการณ์ส่วนตัว ประสบการณ์ของเพื่อน ประสบการณ์ของอาจารย์ และประสบการณ์ของคนที่ได้ติดต่อทำธุรกิจด้วย 15 ปีก่อนหน้านี้ ขณะที่ผู้เขียน ยังคงเป็นนักศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นยุคหนึ่ง ที่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม นักศึกษา พนักงานบริษัท รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่มีความสามารถและความพยายาม ต่างก็ลาออก ไปทำธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่ก็มี นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน ที่ไม่ได้ลาออก แต่ก็ทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปพร้อมกับการเป็นนักศึกษาและอาจารย์ โดยทำข้อตกลงแบ่งหุ้นให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย

เมื่อสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ มหาวิทยาลัยที่ผมศึกษาอยู่ในขณะนั้น จึงได้รับเงินสดที่มีมูลค่ามหาศาล ที่นำมาสร้างตึก ห้องวิจัย จ้างอาจารย์ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาและทุนวิจัยอีกเป็นจำนวนมาก ที่ใช้อีกเป็นทศวรรษก็ไม่มีวันหมด

Read More

พ.ร.บ. ดิจิตอล 3 ฉบับ

โค้งสุดท้าย สำหรับ พ.ร.บ. ดิจิตอล 3 ฉบับ ที่พึ่งผ่านการเห็นชอบโดย ครม. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อันได้แก่ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลฯ ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ ร่างพ.ร.บ.กสทช. ต้องถือเป็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นเร้าใจและสมควรติดตาม เพราะเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านกฎระเบียบและโครงสร้างของการกำกับดูแลรวมทั้งการสนับสนุน การพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในระดับประเทศ

ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลฯ ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ซึ่งเป็นการกำหนดให้มีแผนระดับชาติ ในการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีคณะกรรมการระดับชาติ ที่มีนายกเป็นประธาน และมีกรรมการที่ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกคัดเลือก

วาระที่น่าสนใจ คือการจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่มาจาก 25% ของรายได้ของประเทศจากการจัดสรรคลื่นความถี่ จึงเป็นที่น่าติดตามว่า จะมีผลย้อนหลังไปถึงรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาหรือไม่ เพราะหากมี ย่อมหมายถึงเงินก้นถุงของกองทุน ที่เร่ิมต้นด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

Read More

Wearable Devices เทรนด์นี้อย่าพลาด

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในโลกแห่งนวัตกรรมและโลกแห่งเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือ การขายหุ้นเข้าตลาดเป็นครั้งแรก (IPO) ของ FitBit ผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับสวมใส่ในยุคดิจิตอล (Wearable Devices) อันดับหนึ่งของโลก ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงกว่า 50% ในปี 2014 ที่ผ่านมา และอัตราการเติบโตของยอดขาย ที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ ที่น่าสังเกตุอีกประการหนึ่ง คือเรามักจะได้ยินถึงเรื่องราวที่น่าติดตามของธุรกิจสตาร์ตอัพทางด้านซอฟท์แวร์ ที่ได้ประสบความสำเร็จถึงขั้น IPO ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่น้อยครั้งที่จะได้ยินถึงเรื่องราวของความสำเร็จในธุรกิจสตาร์ตอัพทางด้านฮาร์ดแวร์ เช่นดัง FitBit

Wearable Devices เป็นเทคโนโลยี ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมี Fitness Trackers ในรูปแบบของสายรัดข้อมือ ที่ผลิตโดย FitBit, Jawbones และ Nike เป็นผู้ที่บุกเบิกตลาดอย่างประสบความสำเร็จ

Read More

Open Data เพื่อความโปร่งใสของภาครัฐ

คงไม่มีข้อถกเถียงอีกต่อไปแล้ว ถึงอิทธิพลและความสำเร็จของโซเชียลมีเดีย ในการเป็นสื่อกระแสหลักของคนรุ่นใหม่ และด้วยคติพจน์ที่ว่า ใครก็สามารถเป็นสื่อได้ ในยุคของโซเชียลมีเดีย ผ่านเทคโนโลยี 3G-4G และสมาร์ทโฟนที่มีอยู่ทุกแห่งหน และมีการเข้าถึงเกินครึ่งหนึ่งของประชากรไทย โลกดิติทัลในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ในปริมาตรและปริมาณอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีการเผยแพร่ ถูกเรียกเป็น User Generated Content ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย และมีการเผยแพร่เนื้อหาของตัวเอง ในรูปแบบของ ตัวหนังสือ ภาพ วีดิโอ และ พฤติกรรมอื่นๆ เพื่อส่งต่อและแลกเปลี่ยนกับผู้ใช้คนอื่นในสังคมออนไลน์

User Generated Content ในปัจจุบัน มีปริมาตรและปริมาณอย่างมหาศาล และเป็นส่วนที่สำคัญของอภิมหาข้อมูล หรือที่เรียกกันว่า Big Data ที่สามารถถูกนำมาวิเคราะห์เจาะลึกให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ ต่อธุรกิจ การเมือง การศึกษา สังคม ฯลฯ แต่ถึงกระนั้น ข้อมูลเกือบทั้งหมด ล้วนถูกสร้างขึ้นจากจากผู้ใช้งานในภาคส่วนของเอกชน ไม่ว่าจะเพื่อความบันเทิงส่วนบุคคล ธุรกิจ การศึกษา ฯลฯ

Read More

ไทยเกือบช้าที่สุดในอาเซียน

จากแก่นวิชาแห่งฟิสิกส์ คงไม่มีปรัชญาใดที่จะเลิศล้ำไปกว่าทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่และเวลา การสื่อสารที่เร็วเท่าแสง ด้วยเทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล ได้พังทลายกำแพงแห่งระยะทาง และก่อให้เกิดธุรกิจไร้พรมแดนที่ถูกพัฒนาไปอย่างควบคู่กับธุรกิจในยุคดิจิทัล

เทคโนโลยี ทำให้บุคคลจากต่างสถานที่ ไม่ว่าจะห่างไกลกันเพียงใด กลับสามารถติดต่อ สื่อสาร หรือกระทั่งประกอบธุรกิจ เสมือนหนึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกัน

แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีเทคโนโลยีใด ที่สามารถพังทลายกำแพงแห่งกาลเวลาได้ หากแม้นจะใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ที่มีความเลิศล้ำที่สุด การติดต่อ สื่อสาร หรือกระทั่งประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ยังคงเป็นทาสของเวลา แม้ในอนาคตอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ก็ยังไม่มีเทคโนโลยีใด ที่สามารถพังทลายกำแพงแห่งเวลาได้อีกเช่นกัน

Read More

เศรษฐกิจดิจิทัลกับบริบทระหว่างประเทศ

"หากประเทศไทย จะพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ทางที่ดีแล้ว ต้องขยายการเชื่อมต่อไปยังสิงคโปร์ เพราะสำหรับประเทศไทย สิงคโปร์เป็นประตูทางออกสู่โลกภายนอก ทุกคนในอุตสาหกรรมย่อมรู้เรื่องนี้ดี" นี่เป็นคำกล่าวของผู้เชี่ยวชาญชาวสิงคโปร์รายหนึ่ง ที่ผู้เขียนมีโอกาสได้สนทนาด้วยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญไม่แพ้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอาเซียน

นับจากยุคแรกของอินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคในอาเซียนรวมถึงประเทศไทย ได้มีการบริโภคข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ของต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐ ด้วยสัดส่วนที่สูงกว่าเว็บไซต์ในประเทศหลายเท่าตัว ทั้งนี้ เว็บไซต์ที่ชาวอาเซียนเข้าถึงมากที่สุด ย่อมต้องหนีไม่พ้น Google, YouTube และ Facebook ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสหรัฐ

Read More

Internet of Things เทรนด์นี้ห้ามพลาด

ศุกร์ที่ผ่านมา เป็นวันเปิดตลาดของ Apple Watch อย่างเป็นทางการ Internet of Things (IoT) คือการก้าวเข้าสู่ยุคที่ หลากหลายสรรพสิ่ง สามารถพูดคุยกันเอง และติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องรอคอยให้มนุษย์สั่งการอีกต่อไป สำหรับผู้อ่าน ที่ติดตามกระแสของเทคโนโลยี ย่อมต้องทราบดีว่า Apple Watch เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของ IoT และเทรนด์ดังกล่าวนี้ ได้มีจุดเริ่มต้นมาระยะหนึ่งแล้ว และสามารถสังเกตเห็นได้แม้กระทั่งในประเทศไทย

สำหรับผู้อ่านหลายท่าน อาจยังจำได้ดี หลายปีก่อนหน้านี้ หากต้องการติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์และแล็ปท็อปเท่านั้น แต่ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ได้เกิด Disruptive Innovation ของสมาร์ทโฟน ที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์

ไม่นานหลังจากนั้นเทคโนโลยีจากสมาร์ทโฟน ก็ได้ถูกนำมาปฏิรูปเครื่องใช้เทคโนโลยีอื่นๆ จนเกิดเป็น สมาร์ททีวี สมาร์ทคาเมรา สมาร์ทคาร์ ฯลฯ แต่ในยุคนั้น เครื่องมือและเครื่องใช้ที่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและมีความสลับซับซ้อนทางไอที

Read More

Big Data ขุดทองในอากาศ โดยไม่ต้องลงทุน

พฤหัส (26 มี.ค.) ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญในระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ นั่นคือการ SET ได้หลุดลงต่ำกว่า 1500 อีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เคยมีความหวังว่าจะทะยานขึ้นทะลุ 1650 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเมื่อ พ.ค. 2556

สำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ ย่อมเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ เพราะ Price-Earning Ratio (P/E) สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะภายหลังการประกาศผลประกอบการ Q4 2557 ที่ Earning ของบริษัทส่วนใหญ่ ได้ลดลงอย่างน่าตกใจ

อย่างไรก็ดี P/E ของตลาดปัจจุบัน นับว่าอยู่ในจุดที่สูงอย่างเป็นประวัติการณ์ หากนับจากวิกฤติต้มยำกุ้ง เป็นต้นมา มีเพียงแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่จะมี P/E ของตลาดที่สูงกว่าในปัจจุบัน

Read More