Online Advertising ความได้เปรียบที่ Track ไม่ได้?
/Online Advertising เป็นรายได้หลักของธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Web 2.0 โซเชียล มีเดีย หรือสิ่งใหม่ๆ ที่จะตามมา ธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสื่อ เพียงแต่ต่างวิธีการกับสื่อพื้นฐาน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หรือสิ่งตีพิมพ์
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โฆษณาออนไลน์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง และได้รุกคืบส่วนแบ่งการตลาดของสื่อพื้นฐาน ในอังกฤษโฆษณาออนไลน์ มีส่วนแบ่งที่ 24% ซึ่งมากกว่าโฆษณาบนโทรทัศน์ ซึ่งมีส่วนแบ่งที่ 22% ในสหรัฐ อายุ Median ของผู้ชมโทรทัศน์อยู่ที่ 51 ปี ซึ่งเกินกลุ่มเป้าหมายหลักของ Consumer Products นั่นคือ 18-35 ปี โดยกลุ่มเป้าหมายนี้จะใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า
Google มีรายได้กว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโฆษณาออนไลน์ ขณะที่ WPP Group ธุรกิจโฆษณาพื้นฐานอันดับหนึ่ง และยังเป็นบริษัทแม่ของ Agencies ชั้นนำ เช่น Ogilvy, GroupM ฯลฯ มีรายได้ 13,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่า Google เกือบ 3 เท่า เร็วๆ นี้ WPP Group ได้ประกาศว่าโฆษณาออนไลน์ ต้องเป็นรายได้ 2 ใน 3 ทั้งๆ ที่หลายปีก่อนได้เคยปรามาสอนาคตของธุรกิจนี้
Read MoreTechnology Convergence ในโทรคมนาคม จาก Femtocell สู่ iPhone iOS 4.3
/Technology Convergence เป็นคำศัพท์ ที่มักได้ยินบ่อยในวงการโทรคมนาคม ตั้งแต่ Technology ของการสื่อสารเริ่มเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบ Digital ความเป็นไปได้ของการประสมประสานหลาย Technology เข้าด้วยกัน กลับเป็นเรื่องง่าย เริ่มจาก VOIP เมื่อไม่กี่ปีก่อน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเสียงผ่านระบบ Digital เช่น Internet ปัจจุบันได้มี Technology Convergence หลายรูปแบบ เช่น IPTV, Smartphones, Connected TV ฯลฯ จนอาจเรียกได้ว่า Technology อะไรก็ตาม เมื่อสามารถแปลงเป็น Digital ได้แล้ว สามารถนำไปประสมประสานแปลงรูปแบบร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เป็น Digital ได้เช่นกัน ไม่ใช่เรื่องยาก ปัจจุบัน Technology Convergence ที่มีความสำคัญต่อการให้บริการการเชื่อมต่ออย่างไร้สายคงหนีไม่พ้น Femtocell ซึ่งเป็นกล่องสัญญาณขนาดเล็ก ที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งเองโดยเชื่อมต่อสัญญาณ Broadband จาก ADSL และแปลงออกมาเป็นสัญญาณ 3G ได้ นี่หมายความว่า ผู้ใช้สามารถเป็นเจ้าของเสาอากาศ 3G ขนาดเล็กในบ้านของตัวเองได้ โดยอาศัยสัญญาณ จาก ADSL Broadband
Read Moreนวัตกรรม Cloud Computing กับประเทศไทย
/คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า IT ได้มามีความสำคัญต่อระบบธุรกิจอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็นการลงทุนที่มีโอกาสสิ้นเปลืองสูง เพราะคาดเดาการใช้งาน (Utilization) ที่แท้จริงได้ยาก และยังต้องมีการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ Technology สลับซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน แทนที่จะนำมาซึ่งความได้เปรียบทางกลยุทธ์ (Strategic Advantage) IT ที่บริหารผิดพลาด กลับจะเป็นภาระและอุปสรรคต่อธุรกิจที่แท้จริงของบริษัท การตัดสินใจพื้นฐานที่สำคัญ (Fundamental Decision) ในทุกธุรกิจ คือการที่จะทำเองหรือ Outsource นวัตกรรม Cloud Computing ไม่ต่างกับการ Outsource ระบบ IT รูปแบบ (Model) ที่ประสบความสำเร็จของ Cloud Computing คือการ Outsource ในส่วนของทรัพยากรประมวลผล (Computing Resources) ซึ่งรวมไปถึง CPU, Memory, Hardisk หรือกระทั่ง Bandwidth ซึ่งหากจะเป็นรูปแบบของการทำเอง คือการซื้อ Server ที่มีปริมาตรของ Computing Resources ตามที่กล่าวมา แต่ก็มีปัญหาดังกล่าวคือ คาดเดาการใช้งานได้ยาก และยังต้องบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง การใช้ Cloud Computing จ่ายเงินเมื่อต้องใช้ทรัพยากรเท่านั้น ซึ่งถึงแม้ราคาต่อหน่วยจะแพงกว่า แต่ไม่จ่ายเกินกว่าที่ใช้งานจริง จึงสามารถบริหารค่าใช้จ่ายให้ต่ำกว่าการซื้อ Server ได้ไม่ยาก
Read MoreMobile Apps ตลาดโลก ในยุค Globalization ของ Smartphone
/เป็นอีกหน้าหนึ่ง ของโลกนวัตกรรม เมื่อ Apple ประกาศว่า Apps สำหรับ iPhone ได้มีการ Download แล้ว 1 หมื่นล้านครั้ง ซึ่งถือเป็น Milestone ที่ยิ่งใหญ่ สำหรับช่องทางใหม่ ที่เรียกว่า App Store ที่ได้เกิดมาไม่ถึง 3 ปี คู่แข่งด้าน Smartphones รายอื่นๆ ย่อมไม่ยอมตกขบวนรถไฟ และบังเกิดสิ่งที่คล้ายคลึง ในจำนวนนี้ที่มีโอกาสที่สุด คือ Android Market ของ Google เพราะความแพร่หลายของ Android ที่ได้แซงหน้าผู้บุกเบิกอย่าง Apple ไปแล้ว ในบางด้าน อย่างไรก็ดี Mobile Apps ถือเป็นตลาดใหม่ และได้มาเป็น Gold Rush สำหรับผู้บุกเบิกขนาดกลางและเล็ก ที่จะมีโอกาสพัฒนา และเผยแพร่ Apps ของตัวเอง สู่ตลาดโลก ที่มีผู้ใช้ Smartphones หลายร้อยล้านคน ในภาวะเช่นนี้ ก็ได้มีคนไทยรุ่นใหม่ หลายกลุ่มหลายคณะ ที่ได้มีบทบาท และกอบโกยเงินเป็นจำนวนมาก เข้ากระเป๋าตัวเอง และเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประเทศไทย App Store ของ Apple ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2008 โดยเป็นช่องทางที่ผู้พัฒนา iPhone Apps สามารถเผยแพร่ Apps สู่ผู้ใช้ iPhones ได้โดยตรง โดย Apple คิดส่วนแบ่งรายได้ 30% Apps ของ iPhones มีทั้งที่ฟรี และที่ต้องเสียเงิน ปัจจุบันมีอยู่แล้วกว่า 4 แสน Apps โดยที่มียอดขาย หรือยอด Downloads สูงสุด ล้วนเป็นประเภทเกม ซึ่งเมื่อเทียบกับเกมที่มีการพัฒนามาสำหรับทุกระบบ ตั้งแต่ Nintendo, XBox, PlayStation หรือกระทั่ง PC เกมสำหรับ iPhones มีจำนวนมากกว่า เกมของระบบอื่นๆ ถึง 3 เท่า ทั้งๆ ที่ระบบของ App Store มีมาไม่ถึง 3 ปี ในขณะที่ระบบอื่นๆ ได้มีมาเกือบ 3 ทศวรรษแล้ว ทั้งนี้คงไม่ต้องแปลกใจ เพราะอีกไม่นาน Apple จะมียอดขาย iPhones รวมเกือบถึง 100 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนเกิดเป็น Gold Rush ดังที่กล่าวมา
Read MoreGroupon จาก Social Gaming สู่ E-Commerce $6,000 ล้าน
/หลายครั้งหลายหน การประสมประสานแนวคิดง่ายๆ ที่เข้าใจไม่ยาก แต่มาจากคนละฟากฝั่งของธุรกิจ กลับสามารถกำเนิดเป็นนวัตกรรม ที่ประสบความสำเร็จ และมีอิทธิพล อย่างรวดเร็วได้ยิ่งกว่าการเจาะลึกทุ่มทุน R&D เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ล้ำลึกที่สุดในโลกขึ้นมา ในช่วงปลายปี 2010 ระหว่างที่คนไทยได้ตื่นตาตื่นใจกับภาพยนตร์ The Social Network ซึ่งตีแผ่ตำนานของ Facebook ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้ 585 ล้านคนทั่วโลก และ 7.3 ล้านคนในประเทศไทย ได้ถือกำเนิดดีลระดับโลก ของวงการ Dot Com อีกครั้ง เมื่อ Google พยายามจะซื้อ Groupon ซึ่งถือกำเนิดมาไม่ถึง 2 ปี ด้วยวงเงิน 6 พันล้านดอลลาร์
Groupon ถือกำเนิดโดยการประสมประสานการเล่นเกมบนระบบ Social Networks (Social Gaming) และ E-Commerce เข้าด้วยกัน กล่าวคือ ได้นำองค์ประกอบของการเล่นเกม ที่ทำให้เกิดการติด (Addiction) และการส่งต่อ (Viral) ทั้งนี้ไอเดียมีอยู่ง่ายๆ เพียงแค่ Groupon นำเสนอ Deals of the Day ของกลุ่ม Partners ซึ่งแต่ละ Deal เป็น Promotion หรือ Package พิเศษของสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นขอเสนอที่ดีจริงๆ แต่ Trick มีอยู่ว่า ต้องมีผู้สนใจมากกว่า X คน Deal นั้นๆ จึงจะ Activate ซึ่ง X คือ ตัวเลขที่กำหนดโดย Groupon กับ Partners สำหรับแต่ละ Deal
Read Moreพ.ร.บ. กทสช. อาจมีส้มหล่นสำหรับ 3G
/ผ่านไปแล้วทั้งสองสภาสำหรับ พ.ร.บ. กทสช. แต่ไม่ทันจะประกาศเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ ก็เริ่มแผลงฤทธิ์แล้ว สำหรับเงื่อนไขที่เป็นปัญหาแต่ไม่มีความพยายามที่จะแก้ไขในกมธ.ร่วม ขณะที่ความพยายามส่วนใหญ่ กลับนำไปใช้ถกเถียงเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็น กสทช. ถึงขั้นลงรายละเอียดตั้งแต่อายุ การศึกษา และประสบการณ์การทำงาน แต่ภาระหน้าที่ หรือกระทั่งข้อบังคับที่เป็นประโยชน์หรือโทษ ต่อกิจการโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุกระจายเสียง ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาหลายๆอย่างของประเทศได้ กลับไม่มีใครพูดถึงเลย ผลที่ได้คือการแฝงตัวของกฎระเบียบสองสามข้อ ที่ใช้พื้นที่เพียงไม่กี่บรรทัด แต่ต่อไปจะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติอย่างมหันต์ และในบางกรณีก็เริ่มปรากฎผลแล้ว อย่างไรก็ดี อาจมี ส้มหล่น สำหรับ 3G เพราะ พ.ร.บ. กทสช. ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ กทช. รักษาการแทน กสทช. ภายใต้หมวกใบใหม่ กทช. อาจมีอำนาจเพียงพอที่จะจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ได้ ซึ่งไม่ได้ทำในนาม กทช. แต่ภายใต้การเป็น รักษาการ กสทช. และมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้มากกว่าหมวกใบเดิม
Read More2011 จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ Internet ไทย
/ปี 2010 ที่ผ่านมา ได้มีการจุดประกายนานัปการ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญของวงการ Internet ไทยในปี 2011 ที่จะมาถึง เริ่มต้นจากการเข้าถึง Internet ซึ่ง Smartphone และ Tablet PC กำลังจะมามีบทบาทมากขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายกว่าสำหรับคนไทยทั่วๆ ไป ทั้งยังมีความพยายามของรัฐบาล ที่ผลักดันการเข้าถึง Internet ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเทคโนโลยีไร้สายอย่าง 3G ภายใต้ พ.ร.บ. กสทช. หรือนโยบาย Broadband แห่งชาติ ที่จะให้ประเทศมีการเข้าถึง Internet ความเร็วสูงเป็น 80% จากเดิมที่มีอยู่เพียง 10% เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มการลงทุนของบริษัทข้ามชาติขนาดมหึมา ที่ยังเปิดเผยชื่อไม่ได้ แต่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญกับ Ecosystem ของวงการ Internet ไทย และอาจมีผลไปสู่การ Challenge อุตสาหกรรม Traditional Media เป็นครั้งแรก ทั้งหมดนี้ ชี้นำถึงจุดเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ที่โลก Online กำลังจะมาเป็น Main Stream และไม่ใช่ Niche Market อีกต่อไป
Read Moreความไม่เท่าเทียม ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย
/นานๆ ครั้ง ถึงจะเห็นแถลงการณ์ร่วม ของคู่แข่งหมายเลข 1 และ 2 ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เนื้อหาสาระไม่ใช่อะไรใหม่ แต่เป็นปัญหาที่ค้างคามาร่วมทศวรรษ นั่นคือ ความไม่เท่าเทียมเนื่องมาจากเงื่อนไขของการให้บริการ ผู้ประกอบการบางรายมีเงื่อนไขที่ได้เปรียบจากหน่วยงานของรัฐ ความไม่แฟร์นี้ย่อมส่งผลต่อการแข่งขัน ผู้ที่ได้เปรียบย่อมสามารถผูกขาด และส่งผลเสียกับอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของชาติ และผู้บริโภคในที่สุด ข้อเท็จจริงไม่ได้สลับซับซ้อนมาก แต่อาจเข้าถึงได้ยากสำหรับประชาชนทั่วไป เงื่อนไขหลักๆ คือ ระยะเวลา ส่วนแบ่งรายได้ และความกว้างของแถบคลื่น ผู้ที่ได้เวลามากกว่าย่อมได้เปรียบ เพราะลงทุนเท่ากันแต่มีระยะเวลาคืนทุนที่มากกว่า ผู้ที่ส่วนแบ่งรายได้ต่ำกว่าย่อมได้เปรียบ เพราะสามารถตักตวงประโยชน์ได้มากกว่า ผู้ที่แถบคลื่นกว้างกว่าย่อมได้เปรียบ เพราะให้บริการลูกค้าได้มากกว่าในโครงข่ายที่เท่ากัน
ความมหัศจรรย์ของนิทานเรื่องนี้ คือ ผู้ที่ร่วมแถลงการณ์กลับมีทั้งระยะเวลา ส่วนแบ่งรายได้ และแถบคลื่นที่ได้เปรียบอยู่แล้ว แต่กลับเป็นผู้เรียกร้องหาความเท่าเทียมเอง
Read Moreจาก BarCamp สู่ Hackerspace สังคมออนไลน์พบโลกชีวิตจริง
/หนึ่งเดือนที่ผ่านมาได้พบกับ John Berns อยู่หลายครั้ง คนที่ไม่รู้อาจคิดว่าเขาเป็นฝรั่ง Backpacker ธรรมดาคนหนึ่ง แต่ที่จริงเขาคือเบื้องหลังความสำเร็จของ BarCamp Bangkok ที่จัดมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว และได้รวบรวมนักสังคมออนไลน์จาก Twitter, Facebook ฯลฯ ในประเทศไทยนับพันคน ให้มาตั้ง Camp ข้ามคืนในสถานที่เดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้หรือข้อคิดต่างๆ เปรียบเสมือนการจำลองสังคมออนไลน์ออนไลน์ออกมาสู่โลกแห่งชีวิตจริง จากความสำเร็จของ BarCamp ได้มีข้อเรียกร้องให้จัดเตรียมสถานที่ซึ่งยั่งยืนและถาวร เทียบเท่ากับการมี BarCamp อยู่ทุกวัน นี่คือจุดเริ่มต้นของ Bangkok Hackerspace ที่ได้ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีสมาชิก 200 คน มีทั้งคนไทย Expats หน่วยงานรัฐ และภาคการศึกษา จุดประสงค์คือการจัดสรรพื้นที่ให้นักสังคมออนไลน์สามารถพบเจอกัน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมพัฒนา Open Source หรือกระทั่งบุกเบิกธุรกิจ Startup ได้
Read MoreApple iPad: Device สำหรับเข้าถึงข้อมูลในยุค 3G
/ในที่สุดภาษาไทย และอีกหลายๆ ภาษา ที่ตกหล่นในคราแรก ได้ถูกรวมเป็น Feature สำคัญของ iPad iOS 4.2 Beta ฤๅจะชี้นำถึง Global Strategy เร็วๆ นี้ ของ iPad สินค้า Category ใหม่ที่ประสบความสำเร็จอย่างเหนือความคาดหมาย และในบางตัววัด เป็นความสำเร็จที่เหนือกว่า iPhone เสียอีก Device ประเภท Tablet PC เช่น iPad จะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในยุคต่อไป ซึ่งเป็นยุค Post Desktop Computing (ยุคหลังคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ) โดย Mobility และ Connectivity เช่น 3G จะเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตในสภาวะสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป
สิงหาคมที่ผ่านมา Techcrunch รายงานว่าการเข้าถึงเว็บไซต์ด้วย iPad และ iPhone เป็นสถิติ 4.51% และ 6.13% จาก Device ทั้งหมด ซึ่งรวมคอมพิวเตอร์ Laptop และ Device อื่นๆ เป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่ง เพราะ iPhone ได้เปิดตัวมา 3 ปีแล้ว ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่นที่ 4 ทั้งยังได้มี Global Launch ในขณะที่ iPad เปิดตัวมาไม่ถึง 5 เดือน และวางขายในไม่กี่ประเทศ (แต่มีเครื่องหิ้วให้เห็นอยู่ทั่วไปหมด) แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของ iPad ต่อการเข้าถึง Internet ที่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งได้ลบล้างสถิติของ iPhone ปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วย iPad เป็นถึง 33% ของ Mobile Device ทั้งหมดแล้ว
Read Moreประเทศไทยตลาดใหม่ของ Facebook
/หนึ่งปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงของโลกไอซีทีไม่ต่างกับมหากาพย์ มีเรื่องราวที่ตื่นเต้น และชวนให้หวาดเสียวเกือบทุกเดือน แต่ที่ปรากฏในหน้าสื่อมักเป็นวาระของผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจปกครองประเทศ หรือผู้บริหารระดับ CEO ขึ้นไป ตั้งแต่ เรื่องของ 3 G จนถึงนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ และกระทั่งการเปิดตัว iPhone 4 ซึ่งแต่ละกรณีมีมูลค่ามหาศาล ตั้งแต่พันล้าน ถึงหมื่นล้านขึ้นไป เรื่องของเด็กๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน แต่อาจประมาณค่าได้ยากกว่า และเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากสำหรับผู้ใหญ่ในยุคปัจจุบัน กลับได้ตกสำรวจ และอยู่ในเบื้องหลังของความเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา
ในช่วงเวลา 12 เดือน จำนวนผู้ใช้ Facebook ในประเทศไทย ได้ขยายตัว 320% และเป็นอัตราการขยายตัวอันดับ 3 ของโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้ Facebook เกือบ 6 ล้านคน และจะแซง Hi5 ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า (ข้อมูลจาก Inside Facebook) สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของ Facebook กับตลาดประเทศไทยเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ปัญหาใหญ่ของ Facebook คือ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทย ในปัจจุบันมีการเข้าถึงบรอดแบนด์เพียง 10% หรือ 6.7 ล้านคน
Read MoreCDMA และ 3G บนคลื่นเดิม ทางออกที่เพียงพอหรือ?
/ศึกสายเลือดโทรคมนาคมวาระพิสดาร เมื่อรัฐฟ้องร้องกันเอง กับความไม่ชัดเจนของอำนาจรัฐหน่วยงานหนึ่ง และอุดมการณ์ของรัฐอีกหน่วยงานหนึ่ง ได้ผุดมากมาตรการหลายความคิดในการเยียวยา หากต้องคอย กสทช. 3-5 ปีจะมี 3G ได้จริงหรือ ฤๅจะล้มแบบ กสช. 10 ปียังตั้งไม่สำเร็จ คิดง่ายไปแน่นอน หากเชื่อว่าหน่วยงานดูแลผลประโยชน์กว่า 10% ของ GDP ที่วัดได้และที่วัดไม่ได้อีกมหาศาล จะไร้อุปสรรค ไม่เพียงแต่โทรคมนาคม แต่ สื่อ โทรทัศน์ วิทยุ ธุรกิจ Broadcasting จะกำกับดูแลโดย กสทช. ทั้งหมด เพราะแนวคิดเชิง Convergence ที่ว่าสื่อและโทรคมนาคมจะรวมร่างอย่างแยกไม่ได้อีกต่อไป หากไม่ถึงปีต้องเลือกตั้งใหม่ Political Will ในครานี้จะสืบเนื่องต่อไปหรือไม่ คำตอบจะเป็นเช่นไรผู้รับเคราะห์ย่อมเป็นคนไทยอย่างแน่นอน
นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นสิ่งที่ไทยควรจะมีนานแล้ว เว้นแต่จะมี 3G โดย กทช. อาจเป็นโครงการแรกที่แก้ปัญหา Digital Divide สำเร็จ อย่างไรก็ดี เป็นการอนุมัติเชิงนโยบาย อีกหลายขั้นตอนก่อนจะปฏิบัติได้ และรายละเอียดยังไม่ชัด ที่เห็นผลในเร็ววัน คือ โครงข่าย CDMA ของ Hutch และการทำ 3G บนคลื่นเดิม ปัญหาของสองกรณีอาจไม่ใช่ Technology หรือข้อกฎหมาย แต่เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เรียกว่า Network Effect ความสำเร็จของโครงข่าย?ต้องคำนึงถึงอุปกรณ์รองรับ ?(End-User Devices) ผู้ให้บริการจะลงทุนโครงข่ายเพียงใด ก็ไม่สามารถเปลี่ยนมือถือในมือผู้ใช้กว่า 60 ล้าน และกำหนดทิศทางตลาดของผู้ผลิตมือถือในปัจจุบันและอนาคตได้
Read Moreบริษัทไทยในอุตสาหกรรม ICT คนไทยก็เคยพิชิต Silicon Valley
/มีความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยผู้รักษาผลประโยชน์แทนกลุ่มทุนต่างชาติ ในรูปแบบของนักวิชาการและองค์กรอิสระ เพื่อเรียกร้องให้ประเทศไทยเปิดเสรีอุตสาหกรรม ICT และสนับสนุนให้บริษัทต่างชาติสามารถประกอบกิจการในประเทศไทยได้ทัดเทียมบริษัทไทย ในแง่มุมผู้บริโภคอาจเป็นผลดี หากบริษัทต่างชาติให้บริการได้ดีกว่าจริง และไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาความมั่นคง และเป็นโจทย์ของรัฐศาสตร์มากกว่าเศรษฐศาสตร์ แต่ในแง่มุมของผู้ประกอบการ หรือกระทั่งลูกจ้างผู้ประกอบอาชีพ ไม่ต่างกับการถูกล่าอาณานิคม หรือถูกแย่งชิงพรมแดนทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ทำมาหากิน
ในฐานะที่เป็นคนไทย เราเป็นทั้งผู้บริโภค และผู้หาเลี้ยงชีพบนผืนแผ่นดินของเราเอง เรื่องนี้จึงไม่ใช่โจทย์ทางเดียว อย่างที่นักวิชาการหรือองค์กรอิสระพยายามจะเบี่ยงประเด็น
Read MoreOnline Privacy: Internet รู้ความลับคุณมากกว่าทางการไทย
/การรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่ต่างประเทศให้ความสำคัญมาก มีการรณรงค์ให้บริษัทที่ทำธุรกิจออนไลน์แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง CPO หรือ Chief Privacy Officer เพื่อรับผิดชอบความลับของผู้ใช้บริการ ผู้พัฒนา Web Browser เช่น Apple Safari, Google Chrome และ Microsoft Internet Explorer ล้วนแข่งกันนำเสนอบริการ Private Browsing เพื่อปกป้องความลับของผู้ใช้ ส่วนของ Web Site และ Social Media ได้บรรจุ Privacy Policy บนหน้าแรกซึ่งระบุถึงนโยบายในการรักษาความลับ และในบางครั้งบังคับให้ผู้ใช้ยอมรับก่อนจะใช้งานได้ ฟังแล้วเหมือน Online Privacy เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่แล้วทำไมแทบไม่มีการพูดถึงในประเทศไทย
จะเป็นการเข้าใจผิดหากเชื่อว่าความลับที่ธุรกิจออนไลน์ Web Site และ Social Media มีจากผู้ใช้ เป็นเพียงข้อมูลที่ได้นำเสนอให้กับ Web Site จากการสมัครสมาชิก และเลือกกรอกข้อมูลที่เป็นความลับและส่วนตัว เช่น ชื่อนามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด Credit Card และรหัสต่างๆ ความเชื่อนี้ทำให้ปลอดภัยได้เพียงระดับหนึ่ง โดยระวังการให้ข้อมูลกับ Web Site ที่ไม่น่าเชื่อถือ แต่ความจริงแล้วที่สุ่มเสี่ยงสูงสุดคือข้อมูลที่สมาชิกไม่ได้กรอกหรือหยิบยื่นด้วยความสมัครใจ แต่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและประมวลได้ด้วยสถิติ
Read MoreiPhone 4 กระหึ่ม แต่ไร้เงา 3G
/นับแต่วันที่ iPhone 3G ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย Smartphone ได้มามีอิทธิพลกับชีวิตและสังคมของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับแต่วันที่ iPhone 3G ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมี True Move เป็นผู้ให้บริการรายเดียว จนมาถึงวันนี้ได้เป็น iPhone 4 และ มีผู้ให้บริการครบทุกราย คงปฎิเสธไม่ได้แล้วว่า Smartphone ได้มามีอิทธิพลกับชีวิตและสังคมของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังมี Smartphone ในระบบ Android ที่ผลิตโดย Motorola Samsung HTC ฯลฯ iPhone และ Android เป็น Generation ใหม่ของ Smartphone ที่เพิ่มขีดความสามารถ และความง่ายดายของการใช้งาน
ความสามารถหลักของ Smartphone ไม่ใช่เสียง (Voice) อีกต่อไป แต่เป็นการใช้งาน Data และ Application (Non-Voice) จนเกิดเป็นสถิติการใช้ Internet ผ่านมือถืออย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และเกิดเป็นตลาด App ซึ่งได้มาเป็นอุตสาหกรรมแสนล้านในเวลาไม่ถึงปี ยังได้มีบริการใหม่ๆเกิดขึ้นอีกมากมายเช่น Location-Based Service ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับ Smartphone มากกว่า Desktop PC ทั่วๆไป เพราะความคล่องตัวและ Mobility ของ Smartphone
Read MoreBeyond 3G การปฏิรูปโทรคมนาคมที่แท้จริง
/ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่ง ผมมั่นใจว่าจะมีเพียงเสียงส่วนน้อย ที่ไม่เห็นด้วยกับความพยายามของ กทช. ในการผลักดันเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ 3G ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความพยายามปฏิรูปอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นครั้งแรกในไทย ท่ามกลางความนิ่งเฉย และไม่ชัดเจนจากนโยบายภาครัฐ จนประเทศล้าหลังเพื่อนบ้าน
ปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของไทยมีเพียง 10% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และกระจุกตัวเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ จนเกิดเป็นปัญหาของ Digital Divide ไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม การให้บริการ 3G ตามแผนนโยบายของ กทช. จะผลักดันให้การเข้าถึงระบบสารสนเทศเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของประชากร และจะทำให้ Digital Divide หายไปภายใน 4 ปี หากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง จะมีประโยชน์สุดคณานับ ทั้งความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจที่วัดได้ในรูปแบบ GDP ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตามแนวทางปรองดองของรัฐบาลด้วย
Read Moreเปิดเสรีโทรคมนาคม เดิมพันความมั่นคงของชาติ
/เป็นมหกรรมระดับชาติ ประเทศไทยประกาศปิดเว็บไซต์ไปแล้วเกือบ 50,000 แห่ง จากการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายของประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะการจับกุมผู้กระทำผิดมิอาจทำได้จริง อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อโลกาภิวัตน์ ผู้เผยแพร่ข้อมูลสามารถมาจากทุกหนแห่ง การบังคับใช้กฎหมายมิอาจครอบคลุมได้ทุกท้องที่ในโลก ผู้กระทำผิดสามารถลอยนวลและกระทำผิดกฎหมายจากนอกราชอาณาจักรไทย อย่างที่เจ้าหน้าที่ไม่มีทางที่จะสาวถึงต้นตอ ในยุคนี้ประเทศไทยเปรียบเสมือนเป็นเป้านิ่ง ที่ถูกจู่โจมอย่างไร้ทางตอบโต้ ผ่านระบบโทรคมนาคม ซึ่งเผยแพร่ได้ทั้ง ตัวหนังสือ เสียง ภาพ และวีดิโอ
ในยุคของ Social Media ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย และอาจไม่รู้ตัว ทุกข้อความที่ Share บน Facebook ที่ Tweet บน Twitter หรือทุกบทวิจารณ์ที่เขียนไว้ในเว็บบอร์ดต่างๆ ล้วนเป็นการแพร่ข้อมูลทั้งสิ้น เว็บไซต์ 50,000 แห่งที่ถูกปิดไปอาจดูเหมือนมาก แต่ความจริงแล้วเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบสัดส่วนกับข้อมูลที่ถูกแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตในแต่ละวัน การต่อสู้ของภาครัฐจึงไม่ต่างกับการเข็นครกขึ้นภูเขา หากอำนาจในทางปฏิบัติมิอาจเข้าถึงจริง ผู้กระทำผิดย่อมสามารถจงใจกระทำต่อไปได้ และเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ด้วยจำนวนสมัครพรรคพวก และเทคโนโลยีที่เพิ่มความรวดเร็วยิ่งขึ้น
Read Moreประโยชน์ของ 3G สำหรับคนไทยทั้งประเทศ
/ในที่สุดประกาศ 3G ก็ได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเสร็จสมบูรณ์ ต่อจากนี้ไปพวกเราคนไทยควรเริ่มให้ความสำคัญ และตั้งข้อสังเกตในการดำเนินงานของภาครัฐ เอกชน และสังคม เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่เราได้ล้าหลังมานาน จนต้องมาเสียความสามารถในการแข่งขัน และโอกาสของความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ที่สามารถวัดได้ในอัตราของ GDP ต้องเข้าใจว่า 3G ของไทยไม่ได้เริ่มต้นพร้อมกับประเทศอื่น จึงช้าไม่ได้แล้วที่ผู้มีอำนาจในสังคมจะต้องตัดสินใจวางนโยบายแห่งชาติเพื่อทดแทน 10 ปีที่สูญเสียไปในห้วงสุญญากาศของความไม่แน่นอน สิ่งที่ พอ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ได้ระบุในเงื่อนไขของ 3G หรือกระทั่งแนวคิดการแปรสัมปทานของ รมว.คลัง กรณ์ จาติกวณิช เป็นการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลในฝั่งของผู้ประกอบการ (Supply) คงไม่มีใครเถียงว่าแนวคิดของทั้งสองท่านถือเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และได้ทำทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวเดินต่อไปให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ
แต่สิ่งที่มักไม่มีใครพูดถึงคือ การนำ 3G ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง (Demand) ความจริงแล้วแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ Prof. Craig Warren Smith อดีตศาสตราจารย์จาก Harvard University, Kenedy School of Government ได้เคยศึกษากรณีนี้โดยละเอียดใน Report ของ Meaningful Broadband ซึ่งได้ชี้แจงการนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ของประเทศไทย ด้วยการนำ 3G มาใช้ให้เกิดประโยชน์
Read Moreการตลาดบน 3G ต่างชาติหรือไทยได้ประโยชน์
/ต้องขอขอบคุณ พอ.ดร.นที ศุกลรัตน์ หัวหน้าทีมงาน 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) สร้างฝันให้เป็นจริงกับคนทั้งชาติ ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่มีจำกัด และแรงกดดันจากทุกรอบด้าน เป็นโชคดีของคนไทยที่ได้คนรุ่นใหม่ ที่มีความตั้งใจจริง และมีความรู้ความสามารถมาทำงานที่สำคัญระดับนี้ ในไม่ช้านี้ประเทศไทยอาจมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) ที่ 80% ของประชากรภายใน 4 ปี จากเดิม 10% ด้วยหลักเกณฑ์ของใบอนุญาต 3G
แต่ในการตลาดแล้ว ใครจะได้ประโยชน์สูงสุดจาก 3G
ธุรกิจหลักบน 3G ไม่ใช่การให้บริการเสียง แต่เป็นบริการด้าน Data ซึ่งนำไปสู่ Application และ Content ผ่าน Internet เช่น Social Media ปัจจุบันประเทศไทยมีลักษณะจำเพาะ กล่าวคือ ไม่มีผู้ให้บริการ Application และ Content หลักเป็นของตัวเอง จากเว็บไซต์ที่คนไทยเข้ามากที่สุด 10 อันดับแรก ซึ่งวัดโดย Alexa นั้น 9 ใน 10 เป็นของต่างชาติทั้งสิ้น โดยมี 1. Google.co.th 2. Facebook.com 3. Live.com 4. Google.com 5. Youtube.com 6. Sanook.com 7. Hi5.com 8. Yahoo.com 9. Blogger.com 10. Msn.com มีเพียง Sanook.com ของไทยที่ติด 1 ใน 10
Read More